นักเศรษฐศาสตร์ ชี้ จีนอาจต้องใช้เวลาอีก 17 ปี เศรษฐกิจถึงจะขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งแทนที่สหรัฐฯ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

นักเศรษฐศาสตร์ ชี้ จีนอาจต้องใช้เวลาอีก 17 ปี เศรษฐกิจถึงจะขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งแทนที่สหรัฐฯ

Date Time: 6 ก.ย. 2566 16:33 น.

Video

"CINDY CHAO The Art Jewel" สองทศวรรษอัญมณีศิลป์ | Brand Story Exclusive EP.4

Summary

  • นักเศรษฐศาสตร์ Bloomberg คาดว่า จีนอาจจะต้องใช้เวลาถึง 17 ปี กว่าจะสามารถมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) แซงหน้าสหรัฐฯ หลังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสูญเสียโมเมนตัม

Latest


Bloomberg Economics คาดการณ์ว่าจีนอาจจะต้องใช้เวลาถึง 17 ปี (พ.ศ. 2583) กว่าจะสามารถมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) แซงหน้าสหรัฐฯ แต่จะเติบโตกว่าเพียงเล็กน้อย แล้วจะกลับไปตกต่ำลง เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจีนสูญเสียโมเมนตัม หลังการแพร่ระบาดโควิด


ขณะนี้นักเศรษฐศาสตร์ได้ปรับลดคาดการณ์ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เป็น 3.5% ในปี 2573 และ 1% ภายในปี 2593 ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 4.3% และ 1.6% ตามลําดับ


เมื่อปีที่แล้วจีนมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) อยู่ที่ 3% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เป็นผลกระทบมาจากมาตรการควบคุมโควิด และวิกฤติฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นเครื่องยนต์หลักทางเศรษฐกิจของจีน 


แม้ว่าในไตรมาส 1/2566 เศรษฐกิจจีนจะมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี หลังจากกลับมาเปิดประเทศ แต่วิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ทวีความรุนแรง ประกอบกับปัญหาหนี้รัฐบาลท้องถิ่นที่สะสมมาอย่างยาวนาน กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กดดันให้เศรษฐกิจสูญเสียโมเมนตัม


ซึ่งสวนทางกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวดีกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ เป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง จากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ช่วยเรียกคืนความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย


โดย Bloomberg Economics ได้คาดการณ์ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่ที่ 1.7% ระหว่างปี 2565-2566 ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจระยะยาวคาดว่าจะค่อยๆ ชะลอตัวลงเหลือ 1.5%  ภายในปี 2593


อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ของ Bloomberg ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในระยะกลาง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสอง ศักยภาพการแข่งขันกับประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยี และการสนับสนุนจากรัฐบาล 

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ