จีนบริโภคมะพร้าวไทยดับร้อน! เอฟทีเอช่วยหนุนส่งออกพุ่ง 26%

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

จีนบริโภคมะพร้าวไทยดับร้อน! เอฟทีเอช่วยหนุนส่งออกพุ่ง 26%

Date Time: 10 ส.ค. 2566 05:40 น.

Summary

  • การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ในเดือน ม.ค.-พ.ค.66 จำนวน 12 ฉบับ มีมูลค่ารวม 33,455.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับสินค้าผลไม้ไทย เช่น ทุเรียน ฝรั่ง มะม่วง และมังคุด เป็นต้น นับเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในจีนเป็นอย่างมาก

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ในเดือน ม.ค.-พ.ค.66 จำนวน 12 ฉบับ มีมูลค่ารวม 33,455.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับสินค้าผลไม้ไทย เช่น ทุเรียน ฝรั่ง มะม่วง และมังคุด เป็นต้น นับเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในจีนเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ ในช่วงฤดูร้อน สินค้ามะพร้าวทั้งกะลาก็เป็นหนึ่งในสินค้าผลไม้จากไทยที่มีการขยายตัวสูงในจีน โดยในช่วงกลางไตรมาส 2 ของปี 66 สินค้ามะพร้าวทั้งกะลามีมูลค่าการใช้สิทธิฯส่งออกไปจีนถึง 187.91 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่ม 26.96% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

“จีนมีการนำเข้ามะพร้าวทั้งกะลาจากไทยเป็นอันดับ 1 คิดเป็นสัดส่วนปริมาณการนำเข้าสูงถึง 54.83% และมีมูลค่าส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 80.02% ของการนำเข้าสินค้ามะพร้าวทั้งกะลาทั้งหมด ที่สำคัญการนำเข้าโดยใช้สิทธิเอฟทีเอ ทำให้ไทยได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าจีนเหลือ 0% จากเดิมที่จะต้องเสียภาษี 60%”

สำหรับกรอบความตกลงเอฟทีเอ ที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน มูลค่า 12,164 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีสัดส่วนใช้สิทธิฯ 74.48% อันดับ 2 ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน มูลค่า 10,409.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 97.99%

อันดับ 3 ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น มูลค่า 2,739.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 71.57% อันดับ 4 ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย มูลค่า 2,304 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 63.24% และอันดับ 5 ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย มูลค่า 2,157.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 65.56%.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ