หวั่นตั้งรัฐบาลช้าซ้ำเติมจ้างงาน นายจ้างหวังเร่งดันเศรษฐกิจ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

หวั่นตั้งรัฐบาลช้าซ้ำเติมจ้างงาน นายจ้างหวังเร่งดันเศรษฐกิจ

Date Time: 2 ส.ค. 2566 07:07 น.

Summary

  • นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยว่า การจัดตั้งรัฐบาลที่ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า และถ้าล่าช้าออกไปมาก เกิดสุญญากาศนานเกินไป จะกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจที่เป็นแหล่งการจ้างงานและการลงทุน

Latest

จากคดีดิไอคอนกรุ๊ป สู่ “แชร์ลูกโซ่” ทีไม่ได้มีแค่ หลอกออมเงิน หรือ ลงทุน เปิดกลโกง 5 ขั้นตอน

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยว่า การจัดตั้งรัฐบาลที่ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า และถ้าล่าช้าออกไปมาก เกิดสุญญากาศนานเกินไป จะกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจที่เป็นแหล่งการจ้างงานและการลงทุน ทั้งเพื่อขยายธุรกิจหรือลงทุนใหม่ “ตอนนี้ ภาพรวมของการส่งออกที่หดตัวจากผลกระทบเศรษฐกิจโลกชะลอ ทำให้อุตสาหกรรมส่งออกและบริการทั้งระบบ ได้รับผลกระทบจากรายได้ที่หายไป ส่งผลต่อการชะลอการจ้างงานใหม่ และการรักษาการจ้างงานมาอย่างต่อเนื่อง จึงหวังว่า รัฐบาลใหม่จะจัดตั้งให้เร็วที่สุด และเข้ามาขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ ที่จะพยุงการจ้างงานเอาไว้ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามมากไปกว่านี้”

ทั้งนี้ พบว่า ตัวเลขแรงงานในระบบประกันสังคม (มาตรา 33) ในรอบ 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) ของปีนี้ เพิ่มขึ้นเพียง 106,392 คน หรือ 0.91% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นอัตราที่ต่ำมาก จํานวนผู้ว่างงานในระบบประกันสังคมเดือน มิ.ย.66 ก็มีจํานวน 250,010 คน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 2.04% สูงสุดในรอบ 15 เดือน เทียบกับเดือน พ.ค.65 ที่อัตราการว่างงาน 0.4% ที่สำคัญ ความเปราะบางของเศรษฐกิจไทย ทำให้มีผู้ว่างงานในกลุ่มคนวัยทำงาน 512,000 คน และยังมีผู้ว่างงานแฝงจากชั่วโมงการทำงานตลอดสัปดาห์น้อยกว่า 1 ชั่วโมงอีก 523,000 คน

นอกจากนี้ ยังพบว่า ในปัจจุบันปัญหาการว่างงานยังคงกระจุกตัวในระดับผู้ที่จบปริญญาตรี โดยเฉพาะสาขาที่ไม่ตรงกับความต้องการของนายจ้าง อาทิ คณะรัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ท่ามกลางการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่จะเข้ามาแทนคนทำงานที่มีมากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐและมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องปรับหลักสูตรใหม่ๆ ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อที่จะทำให้เด็กจบใหม่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานโดยเฉพาะที่มีความรู้เกี่ยวกับช่างเทคนิคต่างๆ

“ผมคิดว่าประเทศไทยมีค่านิยมที่ต้องจบปริญญาตรี แต่ในยุคนี้สถานศึกษาก็ต้องปรับหลักสูตร ที่จะทำอย่างไรให้เด็กที่จบมาแล้วเป็นแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดนายจ้างให้มากขึ้น แต่อีกปัญหาหนึ่ง หากมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่ๆ เด็กยุคนี้ก็อาจไม่อยากเข้าไปเรียน เพราะเด็กๆก็มีค่านิยมที่ชอบเรียนคณะอะไรก็ได้ ที่จบการศึกษาง่ายๆ รวมทั้งเด็กจบใหม่มาบางส่วนอยากเป็นเถ้าแก่ ชอบทำงานฟรีแลนซ์ เปิดกิจการเอง ทำให้กำลังแรงงานส่วนนี้หายจากระบบเช่นกัน”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ