คลังปลื้มดัชนีเชื่อมั่นทะลักต่อเนื่อง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

คลังปลื้มดัชนีเชื่อมั่นทะลักต่อเนื่อง

Date Time: 30 มิ.ย. 2566 06:01 น.

Summary

  • ภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือน พ.ค.2566 ปรับดีขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย การบริโภคภาคเอกชน และตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐยังคงหดตัว

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือน พ.ค.2566 ปรับดีขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย การบริโภคภาคเอกชน และตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐยังคงหดตัว แต่ในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า

ส่วนเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 29.4% ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.7 จากระดับ 55.0 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 และสูงสุดในรอบ 39 เดือน สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น รวมถึงความกังวลจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 6.5% และรายได้เกษตรกรที่แท้จริงลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 9.8%

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 17% ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ลดลง 12.4% สำหรับการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 8.1% และขณะที่ภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น 4.1%

“เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี และแรงกดดันจากระดับราคาสินค้าลดลงต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ 0.53% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.55% ส่วนสัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือน เม.ย.66 อยู่ที่ 61.6% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งยังอยู่ภายใต้ กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 และผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ อยู่ที่ 0.70% ของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ทั้งหมด”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ