"บิ๊กป้อม" สั่งเตรียมรับมือฝนทิ้งช่วง ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" ตั้งแต่ มิ.ย.2566- ก.พ.2567

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

"บิ๊กป้อม" สั่งเตรียมรับมือฝนทิ้งช่วง ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" ตั้งแต่ มิ.ย.2566- ก.พ.2567

Date Time: 9 มิ.ย. 2566 06:18 น.

Summary

  • พล.อ.ประวิตรได้มีข้อห่วงใยถึงการคาดการณ์ของประเทศไทยที่กำลังจะเข้าสู่ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” ห้วง มิ.ย.2566- ก.พ.2567 ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้อุณหภูมิความร้อนเฉลี่ยสูงขึ้นและหลายจังหวัดอาจประสบปัญหาภัยแล้ง

Latest

รัฐย้ำเดินหน้าแจกเงินหมื่นเฟส 2 สมาคมค้าปลีกชงฟื้นช็อปดีมีคืนอัดเงินแสน ล.เข้าระบบ

พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยก่อนการประชุม พล.อ.ประวิตรได้มีข้อห่วงใยถึงการคาดการณ์ของประเทศไทยที่กำลังจะเข้าสู่ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” ห้วง มิ.ย.2566- ก.พ.2567 ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้อุณหภูมิความร้อนเฉลี่ยสูงขึ้นและหลายจังหวัดอาจประสบปัญหาภัยแล้ง กระทบต่อปริมาณน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร โดยคาดว่าปีนี้ปริมาณฝนจะน้อยกว่าปกติถึง 5% และมีโอกาสเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระหว่าง มิ.ย.-ก.ค.2566

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมได้รับทราบการดำเนินงานช่วงสิ้นสุดดูแล้งปี 2565/2566 ตามปฏิทินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดย สทนช.จะทำการประเมินผล และสรุปบทเรียนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทุกภาคส่วน รวม 7 กระทรวง 32 หน่วยงาน เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอนำไปปรับปรุงมาตรการ รวมทั้งกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2566/2567 ต่อไป

นอกจากนั้น ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาเห็นชอบความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 และการเตรียมการรับมือฝนทิ้งช่วง ปี 2565 โดยมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ และภาวะฝนทิ้งช่วงอย่างใกล้ชิด พร้อมสร้างการรับรู้ให้กับเครือข่ายภาคประชาชน และดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 และ 10 มาตรการรับมือฤดูแล้งปี 2565/2566 อย่างเคร่งครัด เพื่อรองรับสถานการณ์ “เอลนีโญ” ที่คาดการณ์ไว้ พร้อมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการจ่ายค่าชดเชยความเสียหายแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่รับน้ำนองที่ผ่านมาด้วย ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตรได้กำชับให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมรับมือฝนทิ้งช่วงปี 2566 และซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ โดยเฉพาะการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งอย่างจริงจัง รวมทั้งให้หน่วยงานหลักประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่อเนื่อง.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ