แก้หนี้ครัวเรือนเรื้อรัง! คลังกระทุ้งช่วยชาวบ้านเข้าถึงแหล่งทุน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

แก้หนี้ครัวเรือนเรื้อรัง! คลังกระทุ้งช่วยชาวบ้านเข้าถึงแหล่งทุน

Date Time: 5 มิ.ย. 2566 06:20 น.

Summary

  • “อาคม” แอ่นอกรับหนี้ครัวเรือนไทย เรื้อรังมานาน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันแก้ไข เน้นช่วยเหลือตรงกลุ่มเป้าหมาย “ออมสิน-ธ.ก.ส.” เร่งแก้ไขหนี้ให้ลูกหนี้ ลดหนี้เสีย

Latest

ราคาที่แนวรถไฟฟ้าขยับขึ้น ธอส. ชี้ส่งสัญญาณธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มฟื้นตัว

“อาคม” แอ่นอกรับหนี้ครัวเรือนไทย เรื้อรังมานาน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันแก้ไข เน้นช่วยเหลือตรงกลุ่มเป้าหมาย “ออมสิน-ธ.ก.ส.” เร่งแก้ไขหนี้ให้ลูกหนี้ ลดหนี้เสีย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทย เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน ซึ่งทุกรัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหามาตลอด โดยในส่วนกระทรวงการคลัง ได้พยายามแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง และที่ต้องดำเนินการต่อไปคือ การจัดมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ทั่วประเทศ ซึ่งควรจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือ
ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนและได้รับคำปรึกษาในการแก้ปัญหาหนี้สิน ขณะเดียวกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดทำโครงการฝึกอาชีพให้กับผู้มีรายได้น้อย ที่ถือสิทธิ์สวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงชีพด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องทำควบคู่กันไปและต้องทำต่อเนื่อง เพื่อให้ปัญหาหนี้สินครัวเรือนลดลง

“สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีขณะนี้ อยู่ในระดับทรงตัวจากไตรมาสก่อน ซึ่งกระทรวงการคลังก็ไม่ได้วางใจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจัดงานมหกรรมแก้หนี้ เพื่อช่วยเหลือประชาชนแก้หนี้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ต้องเร่งฝึกอาชีพให้ผู้มีรายได้น้อยด้วย โดยเฉพาะผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพราะจะเป็นการช่วยเหลือตรงกลุ่มเป้าหมาย”

นายอาคม กล่าวต่อว่า จากการจัดงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ครั้งที่ 1 ตั้งแต่ปลายปี 2565-ต้นปี 2566 ที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า มีประชาชนและผู้ประกอบการขอรับบริการภายในงานกว่า 34,000 รายการ คิดเป็นเงิน 24,000 ล้านบาท และยื่นปรึกษาหนี้สินผ่านระบบออนไลน์ รูปแบบออนไลน์ มีผู้ลงทะเบียนเพื่อขอแก้ไขหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ผ่านระบบออนไลน์ทั้งสิ้นมากกว่า 188,000 ราย คิดเป็นจำนวนรายการ 413,000 รายการ ซึ่งปัญหาหนี้สินที่มาขอคำปรึกษามีหลากหลายรูปแบบ แต่ที่มากสุดคือ ขอแก้ไขปัญหาหนี้สินที่มีอยู่เดิม, หนี้บัตรเครดิต, สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น

ขณะที่นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า หนี้เสียของธนาคารอยู่ในระดับต่ำที่ 2.6% ของสินเชื่อรวม เป็นระดับคงที่ ส่วนลูกหนี้ที่อาจจะประสบปัญหาการชำระหนี้อยู่บ้าง ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารได้ทยอยเข้าไปช่วยเหลือ จากตัวเลขสูงสุดเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ 1.2 ล้านราย ขณะนี้ได้ทยอยปรับลดลงเหลือ 350,000 ราย

ด้านนายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ตัวเลขหนี้เสียของธนาคารนั้น ขณะนี้คุณภาพหนี้เสียเริ่มปรับตัวดีขึ้นแล้ว มีเป้าหมายจะบริหารจัดการให้หนี้เสียลดลงให้ต่ำกว่า 5.5% ในปีบัญชี 66/67 จากปัจจุบันอยู่ที่ 6.7% โดยจะดำเนินการผ่าน 3 แนวทางหลัก ทั้งปล่อยสินเชื่อเพิ่ม ออกมาตรการแก้หนี้ใหม่ และพัฒนาระบบไอที โดยสินเชื่อใหม่เน้นปล่อยรายใหญ่วงเงิน 50,000 ล้านบาท เชื่อว่า จะช่วยดึงเกษตรกรรายย่อยเข้าสู่การผลิตและการตลาดได้มากขึ้น ทั้งนี้ วงเงินสินเชื่อที่ปล่อยเพิ่มได้ 10,000 ล้านบาท จะทำให้ระดับหนี้เสียของธนาคารลดลง 0.5%

ทั้งนี้ หลังจากสถานการณ์โควิดได้กระทบความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้า ทำให้หนี้เสียของธนาคารปรับเพิ่มขึ้นกว่า 12% ของสินเชื่อคงค้างในช่วงที่ผ่านมา แต่ขณะนี้เริ่มปรับตัวดีขึ้น อยู่ในระดับ 7.6% ของสินเชื่อคงค้าง อย่างไร ก็ดี ธนาคารตั้งเป้าหมายที่จะลดต่ำกว่า 5.5% ในปีบัญชี 66/67 ซึ่งเท่าที่เราได้ประชุมกับสาขาทั่วประเทศในเรื่องแผนการดำเนินธุรกิจในปีบัญชีนี้ เราเห็นความเป็นไปได้.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ