สศอ.หั่นดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหนีตาย

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

สศอ.หั่นดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหนีตาย

Date Time: 1 มิ.ย. 2566 06:50 น.

Summary

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เดือน เม.ย. อยู่ที่ระดับ 83.51 หดตัว 8.14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันนับตั้งแต่ ต.ค.2565 และเป็นค่าดัชนีฯที่ต่ำสุดในรอบ 34 เดือนนับตั้งแต่ ก.ค.2563

Latest

ชู “บริการประทับใจ” นักเดินทาง-ท่องเที่ยว ทอท.เปิดแผนยกระดับ “สนามบินไทย” ขึ้นอันดับท็อปโลก

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เดือน เม.ย. อยู่ที่ระดับ 83.51 หดตัว 8.14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันนับตั้งแต่ ต.ค.2565 และเป็นค่าดัชนีฯที่ต่ำสุดในรอบ 34 เดือนนับตั้งแต่ ก.ค.2563 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต ( CapU) เม.ย.อยู่ที่ 53.82% ส่งผลให้เอ็มพีไอ 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) อยู่ระดับ 96.87 หดตัว 4.7% สศอ.จึงปรับประมาณการตัวเลขเอ็มพีไอ และอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ภาคอุตสาหกรรมปีนี้ จากเดิมอยู่ในกรอบโต 1.5-2.5% เหลือขยายตัวเพียง 0.0-1% จากปีก่อนหน้า

สำหรับปัจจัยหลักที่ทำให้ค่าเอ็มพีไอ เดือน เม.ย.ลดลงเนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นปกติที่ค่าดัชนีจะลดลงรวมถึง CapU แต่สัญญาณรุนแรงมากขึ้น มาจากภาวะการส่งออกของไทยที่ชะลอตัวลง ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกต่อเนื่องทำให้ 4 เดือนแรกของปีนี้ เอ็มพีไอยังลดลงสอดรับกับทิศทางการส่งออกที่ประเทศคู่ค้าชะลอคำสั่งซื้อ ในหลายๆอุตสาหกรรม

“เศรษฐกิจโลกที่หดตัวและปัญหาภาคการเงินของสหรัฐฯ ทำให้ประเทศคู่ค้าชะลอ คำสั่งซื้อสินค้าในหลายๆอุตสาหกรรม รวมถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากค่าไฟฟ้าและต้นทุนทางการเงิน จากการขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น เริ่มมีผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมให้ปรับลดลง มีผลต่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมได้น้อยลง และเดือน พ.ค.นี้ คาดการณ์ว่าเอ็มพีไอจะขยับขึ้นเล็กน้อย โดยอุตสาหกรรมหลักๆ ที่ส่งผลบวกต่อเอ็มพีไอเดือน เม.ย. ได้แก่ น้ำตาล ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 19.15% จากความต้องการบริโภคทั้งใน และต่างประเทศเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เป็นต้น”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ