หลังคาดยอดผลิตรถอีวีพุ่ง สรรพสามิตของบส่งเสริมเพิ่ม 3 พันล้าน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

หลังคาดยอดผลิตรถอีวีพุ่ง สรรพสามิตของบส่งเสริมเพิ่ม 3 พันล้าน

Date Time: 8 พ.ค. 2566 05:23 น.

Summary

  • “สรรพสามิต” เล็งของบอุดหนุนมาตรการ “อีวี” เพิ่มอีก 3,000 ล้านบาท รองรับผู้เข้าร่วมมาตรการเพิ่ม ประเมินปี 67 ยอดผลิตและยอดซื้อรถอีวีพุ่ง หลังค่ายรถยนต์ต้องเริ่มผลิตรถอีวีในประเทศชดเชย

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

“สรรพสามิต” เล็งของบอุดหนุนมาตรการ “อีวี” เพิ่มอีก 3,000 ล้านบาท รองรับผู้เข้าร่วมมาตรการเพิ่ม ประเมินปี 67 ยอดผลิตและยอดซื้อรถอีวีพุ่ง หลังค่ายรถยนต์ต้องเริ่มผลิตรถอีวีในประเทศชดเชยตามเงื่อนไขโครงการจะต้องใช้เงินกว่า 4 หมื่นล้านบาท ในการส่งเสริม พร้อมปรับรายละเอียดมาตรการส่งเสริมใหม่หลังเสนอ ครม.เห็นชอบ

นายเกรียงไกร พัฒนาภรณ์ รองอธิบดีกรมสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างการเตรียมขอจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมอีก 3,000 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ในโครงการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถอีวี ในปี 2566/2567 ซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุนเม็ดเงินให้แก่ผู้ซื้อรถอีวีตามเงื่อนไขที่กำหนด กล่าวคือ โดยรถยนต์อีวีจะได้รับเงินอุดหนุนสูงสุด 150,000 บาทต่อคัน ส่วนรถจักรยาน ยนต์อีวีได้รับ 18,000 บาทต่อคัน

ทั้งนี้ งบประมาณที่รัฐบาลตั้งไว้สำหรับการจ่ายชดเชยในปี 2565/2566 วงเงิน 2,900 ล้านบาท จะสิ้นสุดในเดือน ก.ย.นี้ ซึ่งกรมสรรพสามิตได้ประเมินว่า หากมีการเร่งโอนรถเพิ่มมากขึ้นในช่วงปลายปีนี้ งบประมาณดังกล่าวจะไม่เพียงพอในการดำเนินการส่งเสริมการใช้รถยนต์ จึงเตรียมของบสนับสนุนเพิ่มเติม เพื่อใช้ดำเนินการในปี 2566/2567 ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้นคาดว่าจะมีจำนวนรถยนต์อีวีเข้าร่วมมาตรการส่งเสริมอีวีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงปี 67 เป็นต้นไป

เนื่องจากเป็นช่วงที่ค่ายรถยนต์ต่างๆจะเริ่ม ผลิตรถยนต์อีวีในประเทศตามเงื่อนไขของโครงการ เมื่อมีการผลิตรถยนต์ได้เพิ่มขึ้น ราคารถยนต์อีวีจะปรับลดลง ซึ่งผู้บริโภคจะหันมาสนใจรถอีวีเพิ่มมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์กันไว้ว่ายอดจองรถอีวีสะสมแล้วกว่า 50,000 คัน หากเข้าร่วม มาตรการส่งเสริมจากภาครัฐจะต้องใช้เงินกว่า 40,000 ล้านบาท ดังนั้น มาตรการส่งเสริมการใช้รถอีวีในช่วงปี 2567-2568 คาดว่าจะมีการปรับรายละเอียดใหม่ ซึ่งจะต้องรอคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของรัฐบาลใหม่อีกครั้ง

เช่นเดียวกับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตแบตเตอรี่สำหรับสนับสนุนอุตสาหกรรมรถอีวีด้วย ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มบริษัทผลิตรถยนต์บีวายดี มีความสนใจจะจัดตั้งโรงงานแบตเตอรี่ในไทยแล้วจำนวนหนึ่งราย ปัจจุบันภาษีสรรพสามิตแบตเตอรี่ จัดเก็บในอัตราเดียวคือ 8% ของมูลค่า โดยโครงสร้างที่ปรับปรุงใหม่นี้จะมีเงื่อนไข เฉพาะแบตเตอรี่ริเทียมที่ใช้ในรถอีวีที่มีอายุการใช้งานตามกำหนด 8-10 ปี ที่ผลิตในประเทศไทย โดย โรงงานที่เข้าร่วมมาตรการก็จะต้องจดทะเบียนกับกรมสรรพสามิต และมีระบบการผลิต ไปจนถึงการกำจัดหรือรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่หมดอายุ อย่างเช่น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะได้การลดหรือยกเว้นภาษีตามมาตรการสนับสนุนต่อไป

นายเกรียงไกรกล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าการจ่ายเงินชดเชยตามมาตรการอีวี ขณะนี้ได้จ่ายเงินชดเชยไปแล้วนับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการมาตรการส่งเสริมการใช้รถยนต์อีวี คิดเป็นวงเงินสะสม 807 ล้านบาท จากกรอบงบ ประมาณ 2,900 ล้านบาท โดยมีรถอีวีจำนวนกว่า 6,580 คัน แบ่งเป็นรถยนต์ 5,200 คัน คิดเป็นเงินชดเชย 782 ล้านบาท รถจักรยานยนต์ 1,370 คัน เป็นเงินชดเชย 24.6 ล้านบาท และขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสารการจ่ายชดเชยอีก 3,000 คัน คิดเป็นเงิน 395 ล้านบาท แบ่งเป็นรถยนต์ 2,500 คัน วงเงินชดเชย 385 ล้านบาท และรถจักรยานยนต์ 580 คัน เงินชดเชย 10 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวยังไม่ชัดเจน เนื่องจากยังไม่สิ้นสุดไตรมาส 2 ปีนี้.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ