เอกชนฝากถึงรัฐบาลใหม่ เสนอแนวทาง สังคายนาโครงสร้างพื้นฐาน เร่งดันเศรษฐกิจไทยสู่ Hub ภูมิภาค

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เอกชนฝากถึงรัฐบาลใหม่ เสนอแนวทาง สังคายนาโครงสร้างพื้นฐาน เร่งดันเศรษฐกิจไทยสู่ Hub ภูมิภาค

Date Time: 28 เม.ย. 2566 18:05 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • STT GDC Thailand ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกลแห่งแรกในประเทศไทย เปิดเผยว่า รัฐบาลใหม่ที่มาจากประชาชนจะเป็นเสมือนจุด “Refresh & Restart” ทางเศรษฐกิจครั้งใหม่

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร STT GDC Thailand ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกลแห่งแรกในประเทศไทย เปิดเผยว่า รัฐบาลใหม่ที่มาจากประชาชนจะเป็นเสมือนจุด “Refresh & Restart” ทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ พร้อมเสนอแนวทางพัฒนาประเทศต่อผู้ที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาล ต้องเปิดกว้างและพร้อม Disrupt ตัวเอง เชื่อมโยงกับประชาชนและภาคธุรกิจทั้งในและนอกประเทศ เร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่ Regional Hub

นายศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า อันดับแรก ผู้คนต้องมาก่อน Citizen Comes First ผู้ที่เข้ามาเป็นรัฐบาลต้องสนับสนุนด้านความมั่นคงให้กับประชาชนอย่างจริงจัง ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานไปถึงด้านการพัฒนาศักยภาพการผลิตเช่น เช่น การลดต้นทุนสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่าง ค่าไฟฟ้า เนื่องจากภาระค่าไฟฟ้าของไทยนั้นถือเป็นต้นทุนที่สูงของภาคครัวเรือน ทุกกิจกรรมหรือธุรกรรมต้องพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าแทบทั้งสิ้น โดยค่าไฟฟ้าของประเทศไทยอยู่ในอัตราที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน หรือการสร้างงานใหม่เพื่อรองรับ New Gen Jobbers ที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของประเทศ

นายศุภรัฒศ์ยังได้กล่าวถึง การสังคายนาหน่วยงานที่เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญ โดยการอัปเกรดโครงสร้างพื้นฐานไปสู่ดิจิทัลมากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนพัฒนาและเติบโตไปในทิศทางเดียวกันแล้ว การนำ Model การบริหารจัดการใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพให้ประโยชน์สูงสุดเข้ามาใช้ เช่น พิจารณาให้ภาคเอกชนเข้ามาดูแลหรือร่วมบริหารเพื่อเพิ่มความคล่องตัว ย่นเวลาการตัดสินใจที่รวดเร็ว ทันต่อการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้รัฐบาลต้องปรับโหมดเป็นผู้ลงทุนและจัดเก็บภาษีอย่างเป็นธรรม กล้าที่จะ Privatize เพื่อนำเงินเข้าคลังไปบริหารประเทศต่อไป

ขณะเดียวกันได้เสนอแนวคิด “ดันไทยเป็น 8 Regional Hubs ที่สำคัญของโลก” ได้แก่

  1. Clean Energy Hub สร้างความต่อเนื่องให้กับนโยบายการสนับสนุนทั้งด้านการผลิตและการใช้งานพลังงานสะอาด ซึ่งมีความสนใจลงทุนและความต้องการพลังงานกลุ่มนี้จากนักลงทุน ผู้ให้บริการไปจนถึงผู้ใช้ระดับโลกเพื่อรองรับแนวทาง Sustainability
  2. Carbon Credit Tokenization Manufacturing Hub สนับสนุนภาคการผลิตและส่งออก ที่มีมาตรการด้าน Net Zero และ Climate Change ซึ่งหากภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันปรับใช้คาร์บอนฟุตปรินต์ของผลิตภัณฑ์ของไทยให้สอดคล้องกับมาตรการต่างๆ นี้ได้ ประเทศไทยก็จะมีกระบวนการรับรองมาตรฐานที่เชื่อถือได้ โดยผู้ประกอบการส่งออกไทยจะชำระค่าคาร์บอนที่ต้นทางหรือในประเทศไทยแทนการที่ต้องไปจ่ายให้ต่างประเทศ
  3. Network Connectivity Hub ดันไทยเป็น Hub ด้านการสื่อสารที่มีทั้งความเสถียรและประสิทธิภาพสูง ส่งเสริม Digital Economy ให้เติบโต
  4. Tourism & Aviation Hub นำเทคโนโลยีมาช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าประเทศและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่นักท่องเที่ยว
  5. Hydrogen Hub for New Logistics Era ศึกษาด้านการสนับสนุนการลงทุนผลิตไฟฟ้าที่มุ่งไปยังพลังงานทางเลือกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ก๊าซ Hydrogen เพิ่มเติมจากรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
  6. Education Hub สนับสนุนการเป็น Global Citizen ต่อเยาวชนไทยให้สามารถสร้างข้อได้เปรียบทั้งวิชาการและภาษาต่างประเทศที่สอง ทำให้แรงงานไทยมีทักษะพร้อมเพื่อการสื่อสารหรือแข่งขันกับคนทั้งโลกได้
  7. Sport & Entertainment Hub ผลักดันให้กีฬาและสันทนาการเป็น Soft Power ที่มีศักยภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั่วโลกได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น Muay Thai International League (MTIL) ที่มีประเทศไทยเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระยะยาว เช่น สถาบันฝึกสอนที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ทัวร์นาเมนต์การแข่งขันระดับโลก
  8. Healthcare Hub สนับสนุนบริการสาธารณสุขและการดูแลสุขภาพและเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทำให้ประชาชนในทุกพื้นที่เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้สะดวกขึ้น รองรับสังคมสูงวัยระดับสุดยอด และผู้คนที่เดินทางมาไทยเพื่อรับการรักษา สร้างการเชื่อมโยงของบุคลากรทางการ ทำโมเดล E-Doctor ที่อำนวยความสะดวกตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ ลดข้อจำกัดปัจจัยทางกายภาพของโรงพยาบาล และที่สำคัญที่สุดลดค่าใช้จ่ายของทุกคนในระบบนิเวศสาธารณสุข

“ประเทศไทยเดินทางมาถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมไปในทุกมิติของประเทศ ตั้งแต่ผู้คน ชุมชน สังคม ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในทุกระดับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้นโยบายบริหารประเทศหลังการเลือกตั้งต้องคำนึงถึงภาพรวมและผลประโยชน์ของทุกคนในชาติ ผู้นำรัฐบาลต้องแสดงให้เห็นความเป็น Connected Leaders ที่เชื่อมโยง Local และนำไปสู่แนวคิด นโยบายและการปฏิบัติแบบ Global และการทำงานแบบ Co-Create ที่สำคัญ ต้องเร่งมือทำ Digital Transformation เพื่อปูทางไปสู่ Digital Economy ที่มีความยั่งยืน”


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ