จี้รัฐต้องทำลายหมูเถื่อนค้างตู้ทันที

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

จี้รัฐต้องทำลายหมูเถื่อนค้างตู้ทันที

Date Time: 28 เม.ย. 2566 06:01 น.

Summary

  • สมาคมฯได้ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมศุลกากรขอให้จัดการสุกรเถื่อน 4.5 ล้านกิโลกรัมที่จับได้ล่าสุดในขั้นเด็ดขาดทันที เนื่องจากตั้งแต่ต้นปี 2565 ชิ้นส่วนเนื้อสุกรลักลอบนำเข้าซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่า

Latest

บิ๊กแบรนด์อสังหาฯ ท็อปฟอร์ม สวนตลาด โกยรายได้แสนล้าน 9 เดือน กำไรพุ่ง 1.7 หมื่นล้าน

นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า สมาคมฯได้ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมศุลกากรขอให้จัดการสุกรเถื่อน 4.5 ล้านกิโลกรัมที่จับได้ล่าสุดในขั้นเด็ดขาดทันที เนื่องจากตั้งแต่ต้นปี 2565 ชิ้นส่วนเนื้อสุกรลักลอบนำเข้าซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าการผลิตภายในประเทศเข้ามาสร้างความเสียหายกับตลาดการค้าสุกรมีชีวิตภายในประเทศอย่างมากเป็นการทำลายอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของประเทศไทย สร้างแรงกดดันให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรต้องขายผลผลิตต่ำกว่าต้นทุน ขาดทุนตัวละ 2,000-3,000 บาท หรือเสียหายรวม 100-150 ล้านบาทต่อวัน จากจำนวนเข้าโรงฆ่าเฉลี่ย 50,000 ตัวต่อวันในปัจจุบัน

โดยขอให้จัดการตู้สินค้าเนื้อสุกรแช่แข็งตกค้างที่ตรวจพบแล้ว ณ ท่าเรือแหลมฉบังทั้ง 161 ตู้ ดังนี้ 1.ขอให้ส่งทำลายสินค้าเนื้อสุกรแช่แข็งตกค้างทั้งหมด 2.ขอให้เปิดเผยรายชื่อผู้นำเข้าทั้งหมดทุกตู้ พร้อมรายชื่อผู้ประกอบการนำเข้าที่ขึ้นทะเบียนไว้ 27 ราย 3.ขอจำนวนตู้สินค้าสุกรเถื่อนทั้งหมดที่ส่งให้กรมปศุสัตว์ทำลายไปแล้วในครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2565-2566 (ต.ค.2565-มี.ค.2566)

ทั้งนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศกำลังเดือดร้อนหนักกับภาวะสุกรหน้าฟาร์มราคาตกต่ำ ราคาประกาศวันพระวันนี้ราคาลงไปอยู่ที่ 72-82 บาท/กก. จากต้นทุนที่ 100 บาท/กก. และยังมีแนวโน้มลดลงอีก เมื่อทราบว่ามีสุกรเถื่อนค้างตู้คอนเทนเนอร์ที่แหลมฉบังถึง 161 ตู้ ทำให้ทุกคนเรียกร้องให้รัฐเร่งทำลายทั้งหมดทันที โดยไม่ควรอนุญาตให้ทำการ Re-Export ไปขึ้นที่ท่าเรืออื่น เพราะจะกลายเป็นกองทัพมดเข้ามาประเทศไทยทางตะเข็บชายแดน ทำให้ตรวจจับยากขึ้น และกระจายเชื้อโรคสู่ภูมิภาคต่างๆได้ง่ายขึ้น

“ต้องขอบคุณกรมศุลกากรที่ล็อกตู้หมูเถื่อนให้อยู่ในอารักขาของกรมไว้ได้มากถึงขนาดนี้ และทราบว่าเตรียมส่งมอบให้กรมปศุสัตว์นำไปทำลายทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก ดีกว่าการอนุญาตให้ผู้นำเข้าทำการ Re-Export เพราะรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าผิดกฎหมาย ขณะที่บรรดาผู้นำเข้าที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของกรมศุลกากรจะถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการทำลายทั้งหมดจึงไม่มีเหตุผลใดที่จะดึงเวลาการทำลายออกไป”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ