เนื่องด้วยปี พ.ศ. 2566 เป็นวาระการครบรอบ 10 ปีของข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางหรือที่รู้จักในนามของโครงการ BRI : Belt road Initiative ซึ่งประกาศจัดตั้งในปี พ.ศ. 2556 ศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน สถาบันวิจัยประเทศจีนและโลกร่วมสมัย ร่วมด้วย ศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน และศูนย์สื่อสารเอเชียแปซิฟิก สำนักสารนิเทศต่างประเทศแห่งประเทศจีน ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนา “จีนร่วมสมัยกับโลก การเแลกเปลี่ยนระหว่าวคนรุ่นใหม่ไทย-จีน” เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือแบบพหุภาคีและตอกน้ำการสร้างประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกัน
ในปีนี้ “คนรุ่นใหม่” ถือเป็นวาระพิเศษ หลังจากประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้กล่าวในวันครบรอบ 100 ปี ของการก่อตั้งสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนว่า คนรุ่นใหม่เป็นความหวังของการพัฒนาและนวัตกรรม รวมถึงการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันระว่างประเทศไทยและจีน
นายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย ประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ได้เข้าร่วมปาฐกถาพิเศษ โดยกล่าวถึง ความสำคัญของคนรุ่นใหม่ไทยและจีนที่จะกลายเป็นกำลังสำคัญในการสร้างร่วมมือระหว่างไทยและจีน การเรียนรู้สังคมประวัติศาสตร์ของกันและกัน คือ สิ่งสำคัญที่จะสร้างความเข้าใจและพัฒนาสู่ความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญในอนาคต โดยนายพินิจกล่าวยกย่องถึงความร่วมมือของไทยและจีนภายใต้โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางที่ได้สร้างคุณูปการหลายประการอันเป็นรูปธรรมต่อประเทศ
“รถไฟความเร็วสูงเส้นทางไทย-ลาว-จีน ในข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนเพื่อพัฒนาระบบการขนส่งระบบราง ยกระดับการขนส่งสินค้าและผู้คนได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มมูลค่าการส่งออกให้กับประเทศไทย และสร้างผลดีต่อห่วงโซ่อุปทานให้ทั้งสามประเทศ อีกทั้งยังเพิ่มพูนต่อเนื่องยังรายได้ภาคประชาชน เศรษฐกิจระดับท้องถิ่น การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม นำมาซึ่งความผาสุกและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน”
นอกจากนี้นายพินิจกล่าวทิ้งท้ายว่า หากจะเข้าใจจีนต้องพิจารณาความเกี่ยวเนื่องแต่ละยุคสมัยที่สอดคล้องกับภูมิรัฐศาสตร์และเปลี่ยนแปลงของโลก ปัจจุบันจีนมีความก้าวล้ำทางด้านเทคโนโลยี ความมั่นคงทางการทหาร ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพแม้เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจและความขัดแย้ง
“ปัจจุบันระบบโลกเข้าสู่ยุคสมัยหลายขั้วอำนาจ ภูมิรัฐศาสตร์เปลี่ยนแปลงและสัมพันธ์กับความร่วมมือนะหว่างภูมิภาค จีนในโลกยุคใหม่ผงาดขึ้นมาอย่างแข็งแกร่ง ผสานความร่วมมือกับชาติอื่นอย่างรัสเซีย อินเดีย บราซิล แอฟริกาใต้ โดยความร่วมมือระหว่างไทยและจีนตลอดกว่าศตวรรษได้ก่อประโยชน์มหาศาลต่อทั้งสองประเทศ นักธุรกิจจีนมีความต้องการที่จะร่วมมือด้านการค้าการลงทุนกับไทยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นหน้าที่ของคนรุ่นใหม่ไทย-จีนในการน้อมรับสัมพันธภาพและสร้างร่วมมือร่วมกันยิ่งขึ้นต่อไป”
งานสัมมนาในครั้งนี้ยังมีหน่วยงานร่วมจัดและสนับสนุนจำนวนมาก อาทิ สภาวัฒนธรรมไทย-จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน พร้อมด้วยตัวแทนภาคธุรกิจและภาคการศึกษาร่วมเสวนาในหัวข้อ “การแลกเปลี่ยนระหว่างคนรุ่นใหม่ไทย-จีน” พิธีมอบรางวัลการแข่งขันเรียงความ “แพนด้าสันถวไมตรี”และพิธีนำเสนอผลงานวิจัยจากสถาบันวิจัยประเทศจีนและโลกร่วมสมัย (ACCWS)