ส.อ.ท.ยังคาใจ "ค่าไฟ" งวด ม.ค.-ส.ค.2566 4.77 บาททุกกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้า

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ส.อ.ท.ยังคาใจ "ค่าไฟ" งวด ม.ค.-ส.ค.2566 4.77 บาททุกกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้า

Date Time: 24 มี.ค. 2566 06:01 น.

Summary

  • ส.อ.ท. ตั้งคำถามส่งถึงรัฐบาลถึงการบริหารจัดการไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศที่ส่งผลกระทบต่อครัวเรือนทุกคน ตลอดจนถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของภาคธุรกิจ

Latest

ธุรกิจที่ปรึกษาส่ิงแวดล้อมรายได้ฉ่ำ

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท. ตั้งคำถามส่งถึงรัฐบาลถึงการบริหารจัดการไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศที่ส่งผลกระทบต่อครัวเรือนทุกคน ตลอดจนถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของภาคธุรกิจ ที่กำลังเร่งฟื้นฟูในช่วงภาวะเศรษฐกิจของโลกชะลอตัว และแข่งขันรุนแรงในระดับประเทศจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กพพ.) ได้ประกาศค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดเดือน พ.ค.-ส.ค.นี้ ที่ 4.77 บาททุกกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้า

ดังนี้ 1 สมมติฐานการคำนวณค่าไฟฟ้าที่ไม่ตอบโจทย์ 1.1 ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดเดือน ม.ค.-เม.ย.นี้ ที่เลือกใช้สมมติฐานช่วง ที่มีการใช้ไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการสูงสุด (พีค) ในช่วงที่ต้นทุนพลังงานโลก และค่าเงินบาทผันผวน ผลที่ได้รับก็คือ ภาคธุรกิจมีต้นทุนสูงขึ้น 13% คือจาก 4.72 เป็น 5.33 บาท/หน่วย ขณะที่ค่าไฟฟ้าในงวดเดือน พ.ค.-ส.ค. กลับพบว่า เป็นช่วงที่ราคาต้นทุนพลังงานของโลกต่ำลง รวมค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจากการชะลอขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ภาครัฐกลับเลือกใช้สมมติฐานตัวเลขของเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ที่ไม่เป็นตัวเลขที่ทันต่อสถานการณ์ราคาต้นทุนรวมลดลง

2.การเร่งรัดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการใดๆ ในช่วงปลายเทอมของรัฐบาลชุดนี้ อาทิ โครงการไฟฟ้าสีเขียวรวม 5,203 เมกะวัตต์ และอนุมัติให้รับซื้อเพิ่มอีก 3,668 เมกะวัตต์ แบบเร่งรีบ ทั้งๆที่กำลังมีเอกชนหลายรายยื่นฟ้องขอการคุ้มครองจากศาลปกครอง, โครงการไฟฟ้าพลังน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งๆที่ประเทศไทยยังมีการผลิตของโรงไฟฟ้าในประเทศ มากกว่าความต้องการกว่า 50%

และ 3. ปัญหาเชิงโครงสร้างและนโยบายเช่นต้นทุนที่สูงขึ้นของค่าไฟฟ้า อาทิ ค่าพร้อมจ่าย (พีเอ) ของโรงไฟฟ้า, ต้นทุนแฝงอื่นๆ หรือสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เหลือเพียง 30% ของกำลังการผลิตรวมขณะที่สัดส่วนการผลิตของเอกชน รวมการนำเข้าสูงถึง 70% เป็นต้น “ผลประโยชน์เรื่องค่าไฟฟ้า มองง่ายๆ ผมขอสรุปว่าประชาชนต้องจ่ายค่าไฟฟ้าที่แพง ในขณะที่โรงไฟฟ้าเอกชนหลายแห่งต่างก็มีผลประกอบการที่มีกำไร”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ