KKP ชี้ไทยเร่งหาการเติบโตใหม่แทนการท่องเที่ยว หวั่นไร้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนระยะยาว

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

KKP ชี้ไทยเร่งหาการเติบโตใหม่แทนการท่องเที่ยว หวั่นไร้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนระยะยาว

Date Time: 31 ม.ค. 2566 14:12 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทิศทางของเศรษฐกิจโลกปีนี้จะเป็นปีที่ยากลำบาก โดยมีการเติบโตช้ากว่าค่าเฉลี่ยในอดีต ทั้งนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ได้คาดว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 2.9% ความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อสูง ต้นทุนการเงินผ่านธนาคารกลางที่ขึ้นดอกเบี้ย พยายามหยุดเงินเฟ้อ ทำให้ต้นทุนการเงินอัตราดอกเบี้ยสูง ข้างนอกมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง

ภาวะเงินเฟ้อในหลายประเทศผ่านจุดที่เลวร้ายที่สุดไปแล้ว อย่างประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐฯ แม้เงินเฟ้อเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น แต่อยู่ในระดับที่สูงเมื่อเทียบกับในอดีต และคาดจะอาจต้องใช้เวลากว่าสถานการณ์จะดีขึ้น แต่จับตาราคาพลังงานจะมีทิศทางอย่างไร หากถ้ามีการปรับเพิ่มขึ้นมาอาจกระทบให้เงินเฟ้อกลับมาสูงขึ้น

ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของทั่วโลก ยังมีอยู่ในระดับที่สูงเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ฝั่งของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง และในปีนี้คาดว่าจะขึ้นเกิน 5% ในช่วงเม.ย. ด้วยแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่สูงเป็นเวลานาน อาจทำให้ดอกเบี้ยในระดับสูงอาจจะอยู่กับเราไปอีกพักหนึ่ง

ทิศทางของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ มองว่าจะเริ่มกลับมาเติบโตได้ดีอีกครั้งการเติบโตของเศรษฐกิจไทยไม่ทั่วถึงไม่เท่าเทียม โดยคาดว่าจีดีพีปีนี้จะเติบโต 3.6% ปัจจัยหลักจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีขึ้น รับประโยชน์โดยตรงจากการเปิดประเทศของทางการจีน เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ในปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 25 ล้านคน และในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35 ล้านคน ซึ่งการท่องเที่ยวเป็นเครื่องจักรเครื่องเดียวที่ทำงาน

ส่วนที่น่ากังวล คือ การส่งออกชะลอตัวตามเศรษฐกิจต่างประเทศ ความคาดหวัง คือ หากครึ่งปีหลังถ้าจีนเปิดเมืองเพิ่มขึ้น และมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นก็อาจจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจไทยได้ ด้านแนวโน้มของดอกเบี้ยนโยบายของไทย มองว่า ดอกเบี้ยนโยบายของไทยน่าจะเกิน 2% ในช่วงไตรมาสที่ 3 แม้แนวโน้มเงินเฟ้อจะชะลอตัว และน่าจะกลับเข้าสู่เป้าหมายของแบงก์ชาติได้ แต่ด้วยการขึ้นดอกเบี้ยของไทยที่ช้ากว่าคนอื่น ทำให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. อาจปรับดอกเบี้ยเข้าสู่ภาวะปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไปเช่นกัน ซึ่งต้นทุนการเงินน่าจะอยู่ในระดับสูงต่อไป

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเติบโตระยะยาวของเศรษฐกิจไทยน่ากังวล เราเริ่มโตช้าลงเรื่อยๆ จากเดิมจีดีพีไทยขยายตัวปีละ 7% เหลือเพียงระดับ 3% ต่อปี เท่านั้น ปัจจุบันเราจะพึ่งพาแต่การท่องเที่ยว แต่เราไม่มีเครื่องยนต์ถัดไปในการขับเคลื่อนประเทศ ความท้าทาย คือ ความสามารถแข่งขัน เป็นโครงสร้างที่ต้องแก้ไขในอนาคตหากมีการเลือกตั้ง มีความหวังว่า จะมีการนำเรื่องนี้มาพูดคุยกัน

นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่าทิศทางการเติบโตของปี 2566 ของกลุ่มภัทรจะเป็นไปอย่างระมัดระวังมากขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้ที่มีการเติบโตสูงมาโดยตลอด โดยตั้งเป้าหมายพอร์ตสินเชื่อจะเติบโตจากปีก่อน 13% อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ หรือ ROAE 13% และควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไม่เกิน 3%

ทั้งนี้ในแผนการเติบโตของ KKP เราจะโฟกัสการขยายฐานลูกค้าที่มีศักยภาพและต่อยอดการเชื่อมโยงธุรกิจของกลุ่ม ผ่านการขายผลิตภัณฑ์ แบบ cross-selling นอกจากนั้น กลุ่มธุรกิจ ยังมุ่งเดินหน้าใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มการออมและการลงทุนดิจิทัลของกลุ่มอย่างเต็มศักยภาพ ทั้ง Dime (ไดม์) และ Edge (เอดจ์) ที่จะเปิดตัวในระยะต่อไป

สำหรับมุมมองด้าน Virtual Bank ทาง KKP จะให้ความสนใจในตลาดนี้หรือไม่นั้น เราดูประโยชน์ในด้านการลงทุนที่จะต้องใส่เงินลงทุน 5,000 ล้านบาท และต้องเพิ่มเป็นหมื่นล้านบาท และต้องร่วมกันพาร์ตเนอร์ ในขณะที่ปัจจุบันเราอยู่ในธุรกิจธนาคารที่สามารถทำธุรกิจได้เช่นกัน ซึ่งอาจจะทับซ้อนกับสิ่งที่เรามีอยู่ ดังนั้นเรามองประโยชน์ในการร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อขยายฐานลูกค้าในกลุ่มที่เราไม่มีจะดีกว่า

นายฟิลิป เชียง ชอง แทน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในด้านการเติบโตของกลุ่มนั้นปัจจุบันกำลังสร้าง New s curve ใหม่ ด้วยการขยายฐานใน 2 ส่วน คือ กลุ่มสินเชื่อรถเรียกเงิน และส่วนที่ 2 คือการขยายฐานในกลุ่มแมสมากขึ้น โดยเป็นการเชื่อมผลิตภัณฑ์ในฝั่งตลาดทุนด้านการลงทุน และ ด้านเงินฝากเข้าด้วยกัน โดยเจาะฐานกลุ่มคนที่มีพอร์ตการลงทุนประมาณ 5 แสนบาท ซึ่งคาดว่าจะมีมากกว่า 1 ล้านคนในประเทศ โดยคาดหวังว่าจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างการเติบโตในระยะยาว.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ