เวิลด์แบงก์ชี้ปีนี้คนจนเพิ่มขึ้น

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

เวิลด์แบงก์ชี้ปีนี้คนจนเพิ่มขึ้น

Date Time: 15 ธ.ค. 2565 05:50 น.

Summary

  • ขณะนี้ประเทศไทยกำลังกลับเข้าสู่เส้นทางการเป็นประเทศที่มีรายได้สูงหลังจากการระบาดของโควิด-19 แต่จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ทางการคลังให้เพียงพอสำหรับความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวเปิดงาน Thailand Economic Monitor Distributional Impact of Fiscal Spending and Revenue จัดโดยธนาคารโลกว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ปีนี้ขยายตัวได้ถึง 4.5% และเชื่อว่าปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.4% ส่วนปี 66 จะขยายตัวได้ 3.8% อยู่ในช่วงของการฟื้นตัวต่อเนื่อง

“ขณะที่การดำเนินนโยบายการคลังนั้น ในช่วงที่เศรษฐกิจเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด ภาระความยากของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น จาก 4.6% เป็น 6.3% ในปี 2564 ซึ่งนโยบายการคลังมีบทบาทที่สำคัญที่เข้าไปช่วยดูแล โดยรัฐบาลได้ออก พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ฉบับ วงเงินรวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ขณะที่ปีต่อไป งบประมาณจะเป็นภาพของการขาดดุลลดลง โดยต้องกลับมาวิเคราะห์สิ่งที่ต้องจ่ายไป โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จากนโยบายที่ได้รับความนิยมในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อาจจะไม่นำมาใช้ในปีหน้า นอกจากจะมีวิกฤติเกิดขึ้น จึงจะนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง”

ในงานเดียวกัน นายฟาบริซิโอ ซาร์โคเน ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย (เวิลด์แบงก์) กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังกลับเข้าสู่เส้นทางการเป็นประเทศที่มีรายได้สูงหลังจากการระบาดของโควิด-19 แต่จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ทางการคลังให้เพียงพอสำหรับความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และเพื่อรองรับผลกระทบด้านลบอื่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยธนาคารโลก แนะให้มีการเพิ่มพื้นที่ทางการคลังเพื่อให้มีการใช้จ่ายอย่างเพียงพอให้ความช่วยเหลือกลุ่มที่เปราะบางที่สุด ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มคนที่ยากจนสุดขั้ว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายลดความยากจนอย่างยั่งยืน

ด้านนายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทย ธนาคารโลก กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปี 65 จะขยายตัวได้ 3.4% ดีขึ้นกว่าคาดเดิมในเดือน มิ.ย.ที่คาดว่าเติบโต 2.9% ขณะที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 66 จะขยายตัวได้ 3.6% ลดลงจากคาดการณ์เดิม 0.7% ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการทางการคลังต่อเนื่องจะช่วยบรรเทาผลกระทบวิกฤติของครัวเรือนได้อย่างมาก เพราะแม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัว แต่คาดว่าความยากจนจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.6% ในปีนี้ จาก 6.3% ในปี 64 เนื่องจากมาตรการบรรเทาผลกระทบโควิด-19 จะสิ้นสุดลง และเงินเฟ้อที่สูงขึ้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ