Meta-AWS เห็นพ้อง กำกับดูแล บ.เทค รัฐต้องหาจุดสมดุล ปกป้องประชาชน โดยไม่ฉุดรั้งนวัตกรรม

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Meta-AWS เห็นพ้อง กำกับดูแล บ.เทค รัฐต้องหาจุดสมดุล ปกป้องประชาชน โดยไม่ฉุดรั้งนวัตกรรม

Date Time: 17 พ.ย. 2565 17:45 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • Meta และ Amazon Web Services เห็นพ้อง กำกับดูแล บ.เทค รัฐต้องหาจุดสมดุลว่าทำอย่างไรจึงจะปกป้องประชาชนโดยไม่ฉุดรั้งพลังของนวัตกรรม

Latest


Meta และ Amazon Web Services เห็นพ้อง กำกับดูแล บ.เทค รัฐต้องหาจุดสมดุลว่าทำอย่างไรจึงจะปกป้องประชาชนโดยไม่ฉุดรั้งพลังของนวัตกรรม

ในงาน APEC CEO Summit 2022 จัดขึ้นโดย สภาที่ปรึกษาธุรกิจ APEC หรือ ABAC โดยเป็นการประชุมของภาคเอกชนทำหน้าที่ให้คำแนะนำเชิงนโยบายแก่ผู้นำของประเทศต่างๆ ซึ่งในปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ และในส่วนของข้อเสนอแนะด้านนวัตกรรม เป็นการพูดคุยในหัวข้อ Innovation Next Frontier โดยมี ไซมอน มิลเนอร์ รองประธานฝ่ายนโยบายสาธารณะ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก บริษัท เมตา แพลตฟอร์มส์ (Meta) และไมเคิล พังก์ รองประธานด้านนโยบายสาธารณะ เอมะซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) เป็นผู้ร่วมอภิปราย

การเสวนาครั้งนี้ได้มุ่งเน้นไปที่การเสนอแนะแนวทางการกำกับดูแลบริษัทเทคโนโลยีของประเทศต่างๆ ซึ่งทั้ง Meta และ AWS มีความเห็นตรงกันว่า เป็นภารกิจที่ท้าทายของรัฐบาลในการกำกับดูแลการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม และหาจุดสมดุลว่าทำอย่างไรจึงจะปกป้องประชาชนโดยไม่ฉุดรั้งพลังของนวัตกรรม

ไมเคิล พังก์ รองประธานด้านนโยบายสาธารณะ เอมะซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS)
ไมเคิล พังก์ รองประธานด้านนโยบายสาธารณะ เอมะซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS)

ไมเคิล พังก์ รองประธานด้านนโยบายสาธารณะ เอมะซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) กล่าวว่า การกำกับดูแลเป็นเรื่องท้าทายของรัฐบาลทั่วโลก โดยบทบาทของรัฐบาลต้องทำให้เรื่องซับซ้อนนั้นง่ายขึ้น และจัดการปัญหาให้เล็กลง

เช่น การคุ้มครองด้านความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว ดังนั้นรัฐบาลต้องมีการพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกันกับภาคเอกชน

ด้านไซมอน มิลเนอร์ รองประธานฝ่ายนโยบายสาธารณะ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท เมตา แพลตฟอร์มส์ (Meta) กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราเข้าไปเป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐบาลทั่วโลก โดยช่วยให้เข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งแต่ละประเทศจะมีภารกิจในการดำเนินนโยบายที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเราต้องให้รัฐบาลเข้าใจว่าใครทำอะไรบ้าง ให้แนวคิดในการออกตัวบทกฎหมายที่จะมากำกับดูแล ทั้งเรื่องของข้อมูล ความปลอดภัย รวมถึงความเป็นส่วนตัว ทำอย่างไรเราถึงเดินไปด้วยกันได้ ทั้งภาคธุรกิจเล็กและใหญ่

APEC มีอิทธิพลเป็นอย่างมากในการหา base practice เราไม่จเป็นต้องสร้างสิ่งใหม่เสมอ แต่เราสามารถหาตัวอย่างจากสิ่งเดิมที่ทำได้ดี โดยหาข้อตกลงร่วมกัน เลือกบางอย่างที่สามารถทำได้ และภาคธุรกิจมองว่ามันกำลังมีปัญหา

“เราเชื่ออย่างยิ่งว่าบริษัทด้านเทคโนโลยีจะต้องได้รับการจัดระเบียบ เราจำเป็นต้องใคร่ครวญถึงสิ่งนี้” มิลเนอร์ กล่าว

ไซมอน มิลเนอร์ รองประธานฝ่ายนโยบายสาธารณะ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท เมตา แพลตฟอร์มส์ (Meta)
ไซมอน มิลเนอร์ รองประธานฝ่ายนโยบายสาธารณะ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท เมตา แพลตฟอร์มส์ (Meta)

ด้านพังก์ กล่าวว่า สำหรับภูมิภาคนี้มีศักยภาพ รัฐบาลจะต้องให้ธุรกิจเทคโนโลยีสามารถทำงานได้ตามข้อบังคับ เพื่อที่ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าพวกเขาสามารถไว้ใจแบรนด์ไหนได้บ้าง เพราะการทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีของเรา เป็นพื้นฐานที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าหลายอย่างถูกใช้ในทางที่ผิด ดยเฉพาะเรื่อง Data localization มีผลสำรวจว่า ประเทศที่มีข้อบังคับเรื่องนี้มากเกินไป มีค่าใช้จ่ายด้านไอทีเพิ่มขึ้น 30% ด้วยต้นทุนขนาดนี้ดังนั้นจึงยากมากที่จะสร้างการแข่งขันได้ในระดับโลก

เลิกจ้างครั้งใหญ่กระทบต่อการพัฒนานวัตกรรม

อย่างไรก็ทั้ง Meta และ Amazon ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ AWS เพิ่งได้มีการประกาศเตรียมเลิกจ้างพนักงานครั้งใหญ่ ในขณะเดียวกันก็ต้องทุ่มเทในการพัฒนานวัตกรรมไปด้วย ในประเด็นนี้ พังก์ ให้ความเห็นว่า ความท้าทายสำหรับบริษัทอย่างมาก ส่วน มิลเนอร์ มองว่า ยอมรับว่าเป็นความลำบากมาก เราทำงานค่อนข้างหนัก มีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย เศรษฐกิจในปัจจุบันจึงทำให้เราต้องปรับสมดุลใหม่ ต้องลำดับความสำคัญมากขึ้น และหาแนวทางที่จะทำให้ภารกิจของเราประสบความสำเร็จ

Meta ยังเชื่อมั่นใน Metaverse 

สำหรับ มิลเนอร์ เชื่อมั่นว่า Metaverse ยังเกิดขึ้นในอนาคต เขามองว่า การพบปะกันจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการเชื่อมโยงรับรู้ถึงกันและกัน มันคือการออกมาจากจอมือถือ และมาอยู่ภาวะอิมเมอซีฟมากขึ้น ผ่านอุปกรณ์เฮดเซตที่ได้มีการวางขายในท้องตลาด ใช้ในการประชุม เห็นอวตารของผู้คน และได้ยินเสียงที่มีความละเอียดชัดเจนมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 5-10 ปี กว่าที่จะอยู่ในตลาดเป็นวงกว้าง และแมสเท่าโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน

และเราได้เห็นตัวอย่างในประเทศไทยที่ได้มีการนำเทคโนโลยี AR สร้างประสบการณ์ในภาคการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มโอกาสในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้กลับมาการท่องเที่ยวไทย และแน่นอนว่า Meta ไม่ใช่องค์กรเดียวที่พัฒนา Metaverse แต่บริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ ก็ทำเช่นเดียวกัน และเราก็ได้มีการทำพาร์ทเนอร์กับหลายองค์กร

AWS มอง Cloud เป็นพื้นฐานของนวัตกรรม

ด้านพังก์ กล่าวว่า สำหรับ AWS เทคโนโลยีคลาวด์เป็นพื้นฐานของการสร้างนวัตกรรม คลาวด์เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดย ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) การเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) และ 5G เทคโนโลยีเหล่านี้ต่างดำรงอยู่ได้เพราะมีระบบคลาวด์รองรับทั้งนั้น

อย่างไรก็ตามภายในการเสวนาได้มีการถามถึงประเด็นบทบาทของผู้หญิงใน next frontier ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ทั้งสองมีความเห็นตรงกันว่า มีส่วนสำคัญอย่างมากในการสร้างความหลากหลาย สำหรับ AWS ในอนาคตจะการสนันสนุนให้มีพนักงานระดับอาวุโสตลอดจนผู้บริหารเป็นผู้หญิงเพิ่มมากขึ้น ส่วน Meta มองว่าการพัฒนาของ Metaverse ผู้หญิงจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่การทำงานด้านโครงสร้างที่จะเติบโตไปพร้อมกับอุตสาหกรรมด้วย.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ