ลุยเชื่อมโยงระบบรถไฟไทย-ลาว เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งสองประเทศ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ลุยเชื่อมโยงระบบรถไฟไทย-ลาว เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งสองประเทศ

Date Time: 7 ต.ค. 2565 06:30 น.

Summary

  • การพัฒนาเชื่อมโยงการขนส่ง การค้าการลงทุนของ สปป.ลาว โครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ ว่า ไทยและ สปป.ลาว เห็นชอบร่วมกันในการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกัน

Latest

ธุรกิจที่ปรึกษาส่ิงแวดล้อมรายได้ฉ่ำ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับนายเวียงสะหวัด สีพันดอน รมว.โยธาธิการและขนส่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เกี่ยวกับการพัฒนาเชื่อมโยงการขนส่ง การค้าการลงทุนของ สปป.ลาว โครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ ว่า ไทยและ สปป.ลาว เห็นชอบร่วมกันในการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้เป็น “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน” จะส่งเสริมและสานต่อมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างกัน โดยทั้งสองประเทศต่างเป็นบ้านใกล้เรือนเคียง และลาวได้เปิดให้บริการโครงการรถไฟลาว-จีน ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟเชื่อมนครหลวงเวียงจันทน์กับคุนหมิง ได้ส่งเสริมการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างลาวและจีนให้มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ขณะที่รัฐบาลไทยตั้งใจให้การเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างหนองคายและเวียงจันทน์เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งสองประเทศ

ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ไทยได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟหนองคายไปยังสถานีรถไฟเวียงจันทน์ ด้วยการพัฒนาสถานีรถไฟหนองคายให้สามารถรองรับการขนส่งสินค้าผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ได้ โดยแผนการก่อสร้างของไทยโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าเปิดให้บริการปี 2569 โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่าเปิดให้บริการปี 2571 และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กิโลเมตร 15 สถานี คาดว่าจะสามารถนำเสนอต่อ ครม.ในปี 2565

ขณะที่ น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังได้มีการหารือถึงแนวทางการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ประมาณ 30 เมตร โดยได้ข้อสรุปร่วมกันตามที่ฝ่ายไทยเสนอคือ สะพานแห่งใหม่นี้จะสามารถรองรับทั้งรถไฟทางขนาดมาตรฐาน ทางขนาด 1 เมตร และรถยนต์ โดยฝ่ายไทยเป็นผู้ดำเนินการออกแบบและมีคณะทำงานร่วมกันหารือเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ