ยอดปล่อย “ก๊าซคาร์บอนฯ” 6 เดือนพุ่ง รับส่งออกฟื้น-ภาคผลิตใช้พลังงานเพิ่ม

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ยอดปล่อย “ก๊าซคาร์บอนฯ” 6 เดือนพุ่ง รับส่งออกฟื้น-ภาคผลิตใช้พลังงานเพิ่ม

Date Time: 5 ต.ค. 2565 07:35 น.

Summary

  • นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้พลังงาน 6 เดือนแรกของปีนี้

Latest

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย คาดธุรกิจค้าปลีกปี 2568 โต 3-5% หวังแรงหนุนจากท่องเที่ยวและส่งออก

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้พลังงาน 6 เดือนแรกของปีนี้ พบว่า เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ของภาครัฐ ส่งผลให้การใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นในทุกประเภทพลังงาน โดยการปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงาน 6 เดือนแรกของปี 2565 อยู่ที่ 131.8 ล้านตัน CO2 เพิ่มขึ้น 6.7% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

“เศรษฐกิจในประเทศเริ่มฟื้นตัวหลังวิกฤติโควิด-19 ทั้งการส่งออกการอุปโภคบริโภคของประชาชนและภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อการปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงาน โดยภาคการขนส่งมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2 เฉลี่ย 30% เพิ่มขึ้น 11.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 15.9% อยู่ที่ 63.8% ภาคเศรษฐกิจอื่นๆ 5% เพิ่มขึ้น 14% ขณะที่การปล่อยก๊าซ CO2 ในภาคการผลิตไฟฟ้าปรับตัวลดลง”

ส่วนการปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานแยกรายชนิดเชื้อเพลิง พบว่า เชื้อเพลิงหลักที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซ CO2 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน/ลิกไนต์ พบว่า น้ำมันสำเร็จรูปมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2 สูงที่สุดคือ 40% ถ่านหิน 31% และก๊าซธรรมชาติ 29%

ขณะเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบดัชนีการปล่อยก๊าซ CO2 ภาคพลังงานของประเทศไทยกับต่างประเทศพบว่า ประเทศไทยมีอัตราการปล่อยก๊าซ CO2 ต่อการใช้พลังงาน และอัตราการปล่อยก๊าซ CO2 ต่อหน่วยการผลิตไฟฟ้า (kWh) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในภูมิภาคเอเชียและประเทศจีน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ