หวั่นขึ้นค่าแรง! ซ้ำเติมธุรกิจไปไม่รอด

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

หวั่นขึ้นค่าแรง! ซ้ำเติมธุรกิจไปไม่รอด

Date Time: 2 ก.ย. 2565 06:17 น.

Summary

  • นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยถึงกรณีคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) ได้บรรลุข้อตกลงปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยถึงกรณีคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) ได้บรรลุข้อตกลงปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่มีผลในวันที่ 1 ต.ค.65 นี้ ที่แบ่งออกเป็นกลุ่มจังหวัด 9 โซน แตกต่างกันไป โดยเพิ่มอัตรา ค่าจ้างขึ้นตั้งแต่ 4.18-6.65% หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5.02% ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้จำกัดอยู่ที่เอสเอ็มอีเพียงกลุ่มเดียว แต่ขึ้นอยู่กับประเภทอุตสาหกรรมและบริการที่ใช้แรงงาน หากใช้สัดส่วนสูงก็จะกระทบมากขึ้น ดังนั้น ธุรกิจที่มีการใช้แรงงานเข้มข้นและมีการแข่งขันราคาสูงและกำไรต่ำจะได้รับผลกระทบมากที่สุด แม้ผู้ใช้แรงงานอาจมองว่าการปรับค่าแรงครั้งนี้ ปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยไม่เพียงพอกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นต่อเนื่อง แต่สำหรับนายจ้างกลุ่มที่กำลังอ่อนแอจากการทำธุรกิจในวิกฤติโควิด-19 ก็จะรู้สึกว่า เป็นการซ้ำเติมให้ทำธุรกิจไปไม่รอดจากต้นทุนต่างๆที่เพิ่มรอบด้าน “หากคิดค่าจ้างขั้นต่ำ โดยใช้เกณฑ์ค่าแรงของกรุงเทพฯและปริมณฑล จะมีผลต่อต้นทุนการผลิตให้เพิ่มขึ้นอีก 1.5-2% จากปัจจุบัน ส่วนจะมีผลมากน้อยเพียงใดอยู่ที่จำนวนการจ้างแรงงานในกิจการ และผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของสินค้าโดยทั่วไปที่อาจเพิ่มขึ้นอีก 1-1.5%”

ทั้งนี้ หากแยกประเภทการจ้างงานพบว่า กลุ่มธุรกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้น จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงมากที่สุด เช่น ธุรกิจเกษตร-เกษตรแปรรูป, อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารพื้นฐาน, ธุรกิจก่อสร้าง, โรงแรมและที่พัก, ร้านอาหาร, ขนส่ง, อุตสาหกรรมรับจ้างการผลิต, โรงงานสิ่งทอ, โรงงานทำเครื่องหนัง ฯลฯ สำหรับการเอาตัวรอดของผู้ประกอบการอาจต้องพิจารณาถึงการเพิ่มทักษะนำระบบ Niche & Lean Process หรือปรับกระบวนการทำงานและกระบวนการผลิตให้กระชับ ลดขั้นตอนคอขวดต่างๆให้งานไม่สะดุดและให้มีส่วนสูญเสียในการผลิตต่ำที่สุด รวมทั้งการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อลดจำนวนแรงงาน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ