ลุยชงดัชนีค่าครองชีพเมืองท่องเที่ยว

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ลุยชงดัชนีค่าครองชีพเมืองท่องเที่ยว

Date Time: 2 ก.ย. 2565 05:47 น.

Summary

  • นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) ได้สั่งการให้ตั้งคณะเพื่อศึกษาเรื่องการจัดทำดัชนีค่าครองชีพเมืองท่องเที่ยว

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) ได้สั่งการให้ตั้งคณะเพื่อศึกษาเรื่องการจัดทำดัชนีค่าครองชีพเมืองท่องเที่ยว เพื่อให้นำกลับมาหารือกันในการประชุมครั้งต่อไป โดยกระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานที่เสนอเรื่องนี้เข้ามา โดยให้เหตุผลว่าเพื่อกำหนดมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพ กำกับดูแลราคาสินค้าและดัชนีค่าครองชีพเมืองท่องเที่ยว และเป็นตัวช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถนำไปวางแผนการใช้จ่ายในการท่องเที่ยว

ทั้งนี้ ดัชนีค่าครองชีพเมืองท่องเที่ยวจะช่วยสำรวจราคาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวในแต่ละจุดหมายปลายทาง โดยการจัดข้อมูลราคาสินค้าที่นักท่องเที่ยวนิยม เช่น บริการแหล่งท่องเที่ยว การบริโภคสินค้า เป็นต้น นักท่องเที่ยวสามารถเลือกปลายทางและวางแผนการเดินทางที่สอดคล้องกับงบประมาณที่มี ในขณะที่รัฐบาลท้องถิ่นมีมุมมองที่ชัดเจนขึ้นในการวางแผนพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันภาครัฐหรือเอกชนสามารถนำดัชนีค่าครองชีพเมืองท่องเที่ยว ไปใช้ในการออกแบบมาตรการส่งเสริมหรือกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง

“ผลที่คาดว่าจะได้รับในเชิงคุณภาพของดัชนีค่าครองชีพเมืองท่องเที่ยว ได้แก่การกำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่และภาพรวมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นการกำกับดูแลราคาสินค้าและบริการในเมืองท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพเกิดการบูรณาการระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้ 3.3 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 17.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปี 2562 ก่อให้เกิดการจ้างงานทั้งในภาคของการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง”

ด้าน น.ส.ฐาปณีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านการตลาดภายในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ให้เหตุผลว่าหากมีดัชนีค่าครองชีพเมืองท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมราคา จะสามารถกำหนดราคาสินค้าในเมืองท่องเที่ยวได้เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการด้านการท่องเที่ยว และอาจเป็นเกณฑ์มาตรฐานอย่างเป็นทางการสำหรับคู่มือการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ เช่น Lonely Planet และ Michelin Green Guide.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ