นม UHT-นมโรงเรียนจ่อขึ้น 50 สตางค์ มาม่าจดจ่อรอพาณิชย์เมตตา

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

นม UHT-นมโรงเรียนจ่อขึ้น 50 สตางค์ มาม่าจดจ่อรอพาณิชย์เมตตา

Date Time: 2 ก.ค. 2565 05:30 น.

Summary

  • การขอปรับราคาน้ำนมดิบครั้งนี้ เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไม่สามารถแบกรับต้นทุนการผลิตได้ เพราะต้นทุนการเลี้ยงแปรผันตามราคาน้ำมัน

Latest

จีนเร่งกระจายฐานการผลิต "ผู้ผลิตแบตเตอรี่ - อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง" ตบเท้าลงทุนไทย พุ่ง!

นายสมพร ศรีเมือง ผู้อำนวยการ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เปิดเผยว่า ภายหลังคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (มิลค์บอร์ด) มีมติให้ปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบอีก 2.25 บาท/ลิตร เป็นราคาที่เกษตรกรน้ำนมดิบได้จะอยู่ที่ 19.75 บาท/ลิตร จากเดิมราคาปรับครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2557 ที่ราคา 17.50 บาท/ลิตร เกษตรกรขายน้ำนมดิบที่ราคา 17.50 บาท/ลิตรมานานกว่า 8 ปีแล้วไม่มีการปรับราคาขึ้นแต่อย่างใด

ทั้งนี้ การขอปรับราคาน้ำนมดิบครั้งนี้ เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไม่สามารถแบกรับต้นทุนการผลิตได้ เพราะต้นทุนการเลี้ยงแปรผันตามราคาน้ำมัน พลังงาน และปุ๋ย ส่งผลให้ต้นทุนการเลี้ยงโคนมเพิ่มขึ้นประมาณ 30% ทำให้เกษตรกรเดือดร้อน มาเรียกร้องให้มีการปรับราคาขายขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นหลังจากนี้ อ.ส.ค.ในฐานะเลขานุการที่ประชุมมิลค์บอร์ดจะรวบรวมมติเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาปรับราคาน้ำนมดิบให้กับเกษตรต่อไป “การพิจารณาปรับขึ้นราคาน้ำนมดิบ 2.25 บาท/ลิตรนั้น ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะหลังจากนี้กระทรวงพาณิชย์จะต้องพิจารณาปรับเพิ่มราคานมยูเอชที (UHT) ที่สุดแล้วก็กระทบประชาชนผู้บริโภค และที่กังวลมากที่สุดคือกระทบราคานมโรงเรียนที่รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณในการจ่ายค่านมโรงเรียนเพิ่มขึ้น นมพาณิชย์ที่ขายในห้องตลาดก็ต้องปรับขึ้นตาม อย่างน้อย 0.48 บาท/กล่องยูเอชที ยังไม่รวมต้นทุนผู้ประกอบการผู้ผลิตนมพาณิชย์ ดังนั้นราคานมพาณิชย์ต้องเพิ่มขึ้นมากกว่า 0.50 บาท/กล่อง (ยูเอสที) แน่นอน”

นายเวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ผู้จัดจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า กล่าวถึงกรณีการยื่นขอปรับราคาจำหน่ายปลีกมาม่าขึ้นอีก 1 บาทเป็นซองละ 7 บาทว่า เชื่อว่าทางกระทรวงพาณิชย์เข้าใจในเหตุผลที่ทางมาม่าขอไปและเข้าใจถึงกระบวนการอนุมัติ ซึ่งต้องใช้เวลาเพราะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประชาชน “ปัจจุบันมาม่าจำหน่ายซองละ 6 บาท ครองสัดส่วนยอดขาย 80% และถึงจุดที่ขาดทุนแล้ว แต่ยังดีที่มียอดขายจากมาม่าในตลาดพรีเมียมที่จำหน่ายราคา 10 บาท และการส่งออกที่เฉลี่ยแล้วยังพอมีกำไร ระหว่างที่การอนุมัติขึ้นราคา ทางบริษัทยังยืนยันว่ายังมีการจำหน่ายมาม่าซองละ 6 ในตลาดต่อไป แม้วัตถุดิบจะขึ้นราคายกแผง อย่างวัตถุดิบสำคัญที่ใช้เกินกว่า 50% คือน้ำมันปาล์มมีต้นทุนเพิ่ม 110% แป้งสาลีขึ้น 53% ไม่รวมต้นทุนอย่างอื่นเช่นการขนส่ง กลยุทธ์มาม่าต่อไปคือรุกตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพรีเมียม โดยจะมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยล่าสุดได้แนะนำมาม่า สูตร Less Sodium มีส่วนผสมโซเดียมน้อยลงสูงสุด 43% ในราคาซองละ 8 บาท”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ