กลุ่มบริษัท ดาว ชูแพ็กเกจจิ้งลดโลกร้อน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

กลุ่มบริษัท ดาว ชูแพ็กเกจจิ้งลดโลกร้อน

Date Time: 21 เม.ย. 2565 06:21 น.

Summary

  • กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านวัสดุศาสตร์ ขอนำเสนอเรื่องราวธุรกิจแพ็กเกจจิ้ง กับบทบาทสำคัญที่จะช่วยลดโลกร้อนและแก้ปัญหาขยะ

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

นายธวัชชัย ตุงคะเวทย์ Senior Technical Service and Development Specialist เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านวัสดุศาสตร์ ขอนำเสนอเรื่องราวธุรกิจแพ็กเกจจิ้ง กับบทบาทสำคัญที่จะช่วยลดโลกร้อนและแก้ปัญหาขยะ พร้อมแนะเทรนด์นวัตกรรม เพื่อความยั่งยืนสำหรับบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต ในงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 60 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “นวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตรวิถีถัดไป : แผนที่นำทางเศรษฐกิจไทยสู่ความยั่งยืน” ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ว่า การผลิตบรรจุภัณฑ์ยุคนี้ไม่ได้มองแค่เรื่องความทนทานสวยงาม แต่ยังต้องให้ความสำคัญกับความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

ดังนั้น ดาวจึงให้ความสำคัญต่อการคิดค้นนวัตกรรม เพื่อมาพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ และผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะการลดคาร์บอน หยุดขยะพลาสติก ส่งเสริมวงจรรีไซเคิล ลดขยะพลาสติกตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเฉพาะการนำขยะพลาสติกมารีไซเคิลใหม่

“ในปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนมากมายเพื่อใช้ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าให้สามารถรีไซเคิลได้ 100% มีเทคโนโลยีนวัตกรรมเม็ดพลาสติกลดโลกร้อนที่ลดปริมาณการใช้พลาสติกแต่ยังคงทำให้ถุงบรรจุภัณฑ์มีประสิทธิภาพดังเดิม (Downgauging) รวมถึงเม็ดพลาสติกสูตรพิเศษผสมพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้ว (PCR) ที่ยังคงคุณสมบัติเทียบเท่ากับฟิล์มที่ทำมาจากเม็ดพลาสติกใหม่ ช่วยลดการใช้พลาสติก ลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน”

นางสาวชมพูนุช จันทร์บัว Market Development Manager กล่าวว่า โครงการของดาวที่ได้ร่วมกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน สนับสนุนการคัดแยกพลาสติกใช้แล้ว ตั้งแต่ต้นทางและนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยสร้างมูลค่าให้กับวัสดุที่ใช้แล้วไม่ให้เป็นขยะ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน และแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน อาทิ โครงการถนนพลาสติก การทำพาเลทไม้เทียมจากพลาสติกใช้แล้ว และการนำขยะพลาสติกในทะเลมาผลิตเป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งราคาไม่ต่างจากวัสดุทั่วไป โดยสามารถชมการบรรยายพิเศษย้อนหลังได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=_2AipSZs5xs


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ