คมนาคมดันโครงการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ รับผู้โดยสาร 65 ล้านคนหลังหมดโควิด

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

คมนาคมดันโครงการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ รับผู้โดยสาร 65 ล้านคนหลังหมดโควิด

Date Time: 17 ม.ค. 2565 19:09 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • คมนาคม เดินหน้าโครงการขยายอาคารผู้โดยสารฝั่งตะวันออก-อาคารด้านทิศเหนือสนามบินสุวรรณภูมิ หลังผลการศึกษาจากไอเคโอ-ไออาร์ต้า ประเมินปี 67-68 โควิดซาผู้โดยสารจะมาเยือนประมาณ 65 ล้านคนต่อปี

Latest


คมนาคม เดินหน้าโครงการขยายอาคารผู้โดยสารฝั่งตะวันออก-อาคารด้านทิศเหนือสนามบินสุวรรณภูมิ หลังผลการศึกษาจากไอเคโอ-ไออาร์ต้า ประเมินปี 67-68 โควิดซาผู้โดยสารจะมาเยือนประมาณ 65 ล้านคนต่อปี

เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 65 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถของอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่มี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุมได้ติดตามการขยายขีดความสามารถสนามบินสุวรรณภูมิ ในโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออก หรือ East Expansion

จากที่ก่อนหน้านี้ได้ให้สมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA และองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมแนวทางการพัฒนาในลักษณะ Revisit ซึ่งที่ประชุมฯ ยังรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานเพื่อจ้าง ICAO

ขณะนี้ ทอท. อยู่ระหว่างการประสานกับสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาร่างข้อตกลง เพื่อให้ ICAO ดำเนินการศึกษาแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถของอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือน ม.ค. 65 และแล้วเสร็จในเดือน ต.ค. 65 ทั้งนี้ ทอท. ได้หารือกับกรมบัญชีกลางเพื่อให้การดำเนินงานของ ทอท. เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว

นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับทราบผลการศึกษาของ IATA ที่ได้มีการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะฟื้นกลับมาในระดับเดียวกันกับช่วงก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งมีผู้โดยสารปีละประมาณ 65 ล้านคน ในช่วงปี 2567-2568

ทั้งนี้ IATA ได้ประเมินทางเลือกในการพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อรักษาระดับการให้บริการหรือ LoS ของสิ่งอำนวยความสะดวกในอนาคตทั้งหมดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเสนอให้พัฒนาส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือเพื่อให้บริการผู้โดยสารภายในประเทศและผู้โดยสารระหว่างประเทศ

ส่วนความคืบหน้าของการก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออกที่ประชุมรับทราบการส่งมอบพื้นที่ของ บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด ซึ่งได้ส่งมอบพื้นที่บริเวณชั้น 2 Food Stop ที่เป็นพื้นที่ก่อสร้างอาคารส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออกให้ ทอท. เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 64

โดยคณะกรรมการ ทอท. ในการประชุมได้มีมติอนุมัติงบลงทุนผูกพันเพิ่มเติมสำหรับการลงทุนก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออกด้วยแล้ว เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 64 เนื่องจากส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออกได้รับอนุมัติจาก ครม. ไว้แล้ว ดังนั้น คาดว่าจะดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างปรับแบบในเดือน ก.ค. 65 และเริ่มก่อสร้างได้ในเดือน พ.ย. 65 ใช้ระยะเวลา 29 เดือน แล้วเสร็จเปิดให้บริการได้ประมาณเดือน มี.ค. 68

นอกจากนี้ ในที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้ ทอท. เร่งรัดการดำเนินการจ้าง ICAO ตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คณะกรรมการฯ ได้มีข้อมูลมาประกอบการพิจารณาร่วมกับผลการศึกษาของ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IRTA เพื่อพิจารณาแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถของอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

รวมถึงเห็นชอบให้ ทอท. ดำเนินการก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออก ซึ่งมีความพร้อมและ ครม. อนุมัติโครงการไว้แล้ว ให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความพร้อมรองรับผู้โดยสารที่คาดว่าจะกลับมาในระดับประมาณ 65 ล้านคนต่อปี เท่ากับช่วงก่อนเกิดโรคโควิด-19 ได้ในปี 68

ขณะเดียวกัน ในที่ประชุมยังมีข้อสั่งการเพิ่มเติมให้ ทอท. ประสานสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในการเตรียมพร้อมรองรับปริมาณผู้โดยสารที่ IATA คาดการณ์ไว้ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางอันดับ 9 ของโลก โดยจะมีผู้โดยสารเข้ามาในไทยถึง 200 ล้านคน รวมถึงให้ศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการขนส่งทางอากาศในกรณีที่มีการพัฒนารถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูงด้วย.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ