ทำงบประมาณแบบขาดดุลกอบกู้เศรษฐกิจและสังคมจากโควิด-19

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ทำงบประมาณแบบขาดดุลกอบกู้เศรษฐกิจและสังคมจากโควิด-19

Date Time: 23 ธ.ค. 2564 06:20 น.

Summary

  • น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง ปีงบประมาณ 2566-2569 โดยรัฐบาลยังต้องดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว

Latest

HSBC ชี้เศรษฐกิจไทยโตกว่าที่คิด หลังรัฐเร่งลงทุน กระตุ้นบริโภค ต่างชาติเชื่อมั่น จ่อลงทุนไทยเพิ่ม

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง ปีงบประมาณ 2566-2569 โดยรัฐบาลยังต้องดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว ผ่านการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสังคมจากโควิด-19 ที่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและประชาชนที่มีผลต่อเนื่องถึงภาคการคลัง ทำให้เกิดภาระที่สะสมต่อภาคการคลังของไทย อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้การแพร่ระบาดกลับมารุนแรงได้อีก จนส่งผลกระทบให้ภาครัฐต้องดำเนินมาตรการ เพื่อบรรเทาผลกระทบเพิ่มเติมอีกในอนาคต

“การกำหนดเป้าหมายและนโยบายการคลัง ยังเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก (เมกะเทรนด์) ที่จะส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งการจัดเก็บรายได้ การจัดสรรงบประมาณของภาครัฐ”

ทั้งนี้ ตามแผนกระทรวงการคลังได้กำหนดสถานะและประมาณการเศรษฐกิจในปี 2566 คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวอยู่ในช่วง 3.2-4.2% ส่วนปี 2567 คาดว่าจีดีพีจะขยายตัวอยู่ในช่วง 2.9-3.9% ขณะที่ในปี 2568-2569 คาดว่าอยู่ในช่วง 2.8-3.8% ส่วนสถานะและประมาณการการคลัง มีการประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ 2566 อยู่ที่ 2.49 ล้านล้านบาท, ปี 2567 อยู่ที่ 2.56 ล้านล้านบาท, ปี 2568 อยู่ที่ 2.64 ล้านล้านบาท ปี 2569 อยู่ที่ 2.72 ล้านล้านบาท ส่วนการประมาณการงบประมาณรายจ่าย ปีงบประมาณ 2566 อยู่ที่
3.185 ล้านล้านบาท, ปี 2567 อยู่ที่ 3.27 ล้านล้านบาท, ปี 2568 อยู่ที่ 3.363 ล้านล้านบาท ปี 2569 อยู่ที่ 3.456 ล้านล้านบาท โดยอยู่ภายใต้สมมติฐานที่สำคัญ เช่น สัดส่วนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น 2.0-3.5% ของวงเงินงบประมาณ

“ครม.ยังเห็นชอบให้ขยายเวลาการปรับลดเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 4 แห่ง เช่นธนาคารออมสิน จากอัตราเดิม 0.25% เหลือ 0.125% ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน ในปี 2565 ต่อไปอีก 1 ปี มีผลวันที่ 1 ม.ค.2565 ต่อเนื่องจากที่ได้ปรับลดมา 2 ปี ในปี 2563-2564 และปี 2566 ให้กลับมานำส่งในอัตราเดิมที่ 0.25%”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ