พบโครงการรัฐยังมีประสิทธิภาพต่ำ ใช้จ่ายไม่ถึงเป้า

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

พบโครงการรัฐยังมีประสิทธิภาพต่ำ ใช้จ่ายไม่ถึงเป้า

Date Time: 19 ต.ค. 2564 07:01 น.

Summary

  • อัตราเงินเฟ้อ กลับเข้าสู่ขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อและจะสูงขึ้นในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม ไทยยังไม่จำเป็นต้องเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยเหมือนต่างประเทศ

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในการประชุมนักวิเคราะห์ ครั้งที่ 3/64 ว่า จากการประเมินของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และ ธปท.พบว่าเศรษฐกิจไทยพ้นจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาส 3 ปีนี้ โดยจะขยายตัวดีขึ้นในไตรมาส 4 ต่อเนื่องปีหน้า ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงกว่าศักยภาพของเศรษฐกิจไทย จากการใช้จ่ายในประเทศที่ดีขึ้น หลังการผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการระบาดของโควิด-19 จำนวนนักท่องเที่ยวที่ทยอยเพิ่มขึ้น และการส่งออกที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง

ส่วนอัตราเงินเฟ้อ กลับเข้าสู่ขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อและจะสูงขึ้นในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม ไทยยังไม่จำเป็นต้องเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยเหมือนต่างประเทศ โดยยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ และใช้นโยบายดอกเบี้ยผ่อนคลายต่อเนื่อง เพราะภาวะเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่น และยังมีความเสี่ยงด้านต่ำอยู่ แม้หลายประเทศปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินเพื่อรองรับเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นก็ตาม

ด้าน น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารและการสื่อสารองค์กร กล่าวว่า ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 64 ของ ธปท.ล่าสุดเดือน ก.ย.คาดขยายตัว 0.7% และเพิ่มขึ้น 3.9% ในปี 65 โดยเหตุที่ยังไม่ปรับขึ้นประมาณการ แม้ได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด เพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายเรื่องที่ต้องติดตาม ทั้งการระบาดและการกลายพันธุ์ของไวรัส มาตรการควบคุมการระบาด การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยแม้ปัจจัยเหล่านี้จะเริ่มทยอยดีขึ้น แต่ตลาดแรงงานยังเปราะบาง คาดว่า สิ้นปี 64 จะมีผู้ว่างงานและเสมือนว่างงานรวม 3.4 ล้านคน

นอกจากนี้ ยังต้องติดตามคือความต่อเนื่องของแรงสนับสนุนจากมาตรการรัฐ เพราะมีส่วนสำคัญพยุงเศรษฐกิจระยะข้างหน้าและการกระตุ้นการท่องเที่ยวไตรมาส 4 ได้แก่ เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 และทัวร์เที่ยวไทย โดยต้องติดตามประสิทธิภาพอัตราการใช้จ่ายแต่ละมาตรการเทียบกับเป้ามูลค่าการใช้จ่ายของโครงการว่าดีขึ้นหรือไม่ ซึ่งพบว่ายังอยู่ในระดับต่ำ โดยโครงการที่อัตราการใช้จ่ายต่อเป้าหมายต่ำที่สุดคือ ยิ่งใช้ยิ่งได้ 2.3% ตามด้วยโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ 18.2%, คนละครึ่ง เฟส 3 อยู่ที่ 35.4%, วงเงินพิเศษบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เฟส 3 อยู่ที่ 47.9% และการช่วยเหลือกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการในระยะเร่งด่วน 54.8%.

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ