รฟท.หวังกู้รายได้ล้างขาดทุน ดีเดย์ “เอสอาร์ที แอสเสท” บริหารสมบัติเจ้าคุณปู่

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

รฟท.หวังกู้รายได้ล้างขาดทุน ดีเดย์ “เอสอาร์ที แอสเสท” บริหารสมบัติเจ้าคุณปู่

Date Time: 10 ก.ย. 2564 05:45 น.

Summary

  • ถือเป็นการปฏิรูปด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินครั้งสำคัญของ รฟท.ตามมติของคณะรัฐมนตรี วันที่ 29 ก.ย.63 ที่เห็นชอบให้จัดตั้งบริษัทลูก คือบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังลงนามบันทึกข้อตกลงการบริหารจัดการทรัพย์สินระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับบริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัดว่า ถือเป็นการปฏิรูปด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินครั้งสำคัญของ รฟท.ตามมติของคณะรัฐมนตรี วันที่ 29 ก.ย.63 ที่เห็นชอบให้จัดตั้งบริษัทลูก คือบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด เพื่อบริหารทรัพย์สินของ รฟท.ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังช่วยฟื้นฟูสร้างรายได้ให้แก่การรถไฟฯ ตามแผนฟื้นฟูกิจการฯ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.)

“ในช่วงแรก รฟท.จะเริ่มทยอยโอนทรัพย์สินโครงการขนาดใหญ่ที่มีการทำสัญญาไว้แล้ว 75 สัญญา มูลค่าทรัพย์สิน 1,645 ล้านบาท ภายในเวลา 2 เดือน ระหว่างเดือน ก.ย.-ต.ค.64 ซึ่งจะทำให้บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด ดำเนินการบริหารจัดการทรัพย์สินได้ทันที และจะมีการทยอยโอนส่งมอบทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมายโอนทรัพย์สินทั้งหมด 12,839 สัญญา มูลค่า 3,166 ล้านบาท แล้วเสร็จภายในปี 65 อย่างไรก็ดี กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทั้งหมดยังคงเป็นของ รฟท. เช่นเดิม โดยคาดหวังว่า บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ซึ่งถูกออกแบบมาให้เป็นอิสระและเป็นมืออาชีพด้านการจัดการอสังหาริมทรัพย์จะบริหารจัดการทรัพย์สินของการรถไฟฯได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถสร้างรายได้แก่องค์กร ช่วยพลิกฟื้นการรถไฟฯให้กลับมาเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง ล้างขาดทุนได้”

ขณะที่นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า คณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ได้เห็นชอบแผนการดำเนินงานวาระเริ่มแรก ภายใน 180 วัน ซึ่งขั้นตอนจะจัดทำร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และวิธีการสรรหาผู้อำนวยการ รวมทั้งมอบหมายให้กรมขนส่งทางราง (ขร.) จัดทำรายละเอียดและเป้าหมายการผลิตเกี่ยวกับอะไหล่และวัสดุอุปกรณ์งานระบบราง เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การสนับสนุนการผลิตของภาคเอกชนไทยในอนาคต.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ