ที่ผ่านมามีเหตุการณ์ในหน้าข่าว ที่เกี่ยวกับ “การกระทำผิดซ้ำ” ของผู้ที่พ้นโทษ ซึ่งสร้างความตื่นตระหนก สะเทือนขวัญให้กับประชาชนในสังคม ทั้งคดีอาชญากรรม คดีอุกฉกรรจ์
ดังนั้น กระทรวงยุติธรรม จึงได้จัดทำ “ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ….” ซึ่งเป็นหนึ่งในกฎหมายที่ให้ความสำคัญกับการสร้างระบบการจัดการกับผู้พ้นโทษที่เคยก่อเหตุอาชญากรรมสะเทือนขวัญ เพื่อปรับเปลี่ยนอุปนิสัยของผู้กระทำความผิดเฉพาะรายและป้องกันการกระทำผิดซ้ำ โดยเมื่อผู้กระทำผิดออกจากเรือนจำแล้วจะมีการคุมประพฤติ ไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ถ้าเกิดมีพฤติกรรมมีแนวโน้ม หรือมีโอกาสที่จะกลับมากระทำผิดซ้ำจะถูกคุมขังฉุกเฉินได้ทันที
ภายใต้ “ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ….” ยังประกอบไปด้วยอีกหนึ่งหน่วยงานที่สำคัญ ได้แก่ ศูนย์ JSOC หรือ ศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังความปลอดภัยของประชาชน ที่จะดำเนินการติดตามผู้กระทำผิด โดยแบ่งเป็นกลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 หรือ watch list 1 คือ ผู้พ้นโทษที่ถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจำแล้วมีประมาณ 130 คน
กลุ่มที่ 2 หรือ watch list 2 คือ กลุ่มที่กำลังจะพ้นโทษ มีประมาณ 22 คน
กลุ่มที่ 3 หรือ watch list 3 คือ กลุ่มเฝ้าระวัง มีประมาณ 17 คน
ขณะนี้ กระทรวงยุติธรรม อยู่ระหว่างการขับเคลื่อนบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเชื่อว่า เมื่อกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้ว จะมาช่วยเติมเต็มภาพลักษณ์ของกระบวนการยุติธรรม ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นและก็จะสร้างความปลอดภัยในด้านชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและสร้างภาพลักษณ์ให้แก่ประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย
ประชาชนสามารถติดตามชมคลิปสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ที่สามารถบอกเล่าบทบาท หน้าที่การดำเนินงานของกระทรวงยุติธรรมในบริบทต่างๆ ได้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้นได้ที่ ...
#กระทรวงยุติธรรม
#ศูนย์ JSOC