“สุริยะ” ขมีขมันช่วยเอสเอ็มอี ผุดแผนบริหารลดต้นทุนโลจิสติกส์ฝ่าไวรัสร้าย

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

“สุริยะ” ขมีขมันช่วยเอสเอ็มอี ผุดแผนบริหารลดต้นทุนโลจิสติกส์ฝ่าไวรัสร้าย

Date Time: 27 ก.ค. 2564 05:40 น.

Summary

  • กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) เร่งผลักดันโครงการเพิ่มขีดความสามารถบริหารจัดการโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรมให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจ

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่าได้สั่งการให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) เร่งผลักดันโครงการเพิ่มขีดความสามารถบริหารจัดการโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรมให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจ เนื่องจากต้นทุนโลจิสติกส์ของสถานประกอบการแต่ละแห่งมีต้นทุนค่อนข้างสูง หากลดต้นทุนในส่วนนี้ได้ จะช่วยให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เบื้องต้นตั้งเป้าต้องลดให้ได้ไม่น้อยกว่า 15% เทียบกับต้นทุนเดิม โดยจะลดทั้งในส่วนของการจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการคลังสินค้า การจัดการการขนส่ง และกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการลดต้นทุนโลจิสติกส์ทั้งหมด โดยได้ตั้งเป้าหมายปีนี้จะสามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการมูลค่าทางเศรษฐกิจได้รวม 800 ล้านบาท

“ต้นทุนโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรมประกอบด้วย 3 ด้านหลัก 1.ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง 2.ต้นทุนการขนส่งสินค้า และ 3.ต้นทุนการบริหารจัดการ ดีพร้อมจึงเร่งเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสถานประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายให้ทันสมัยและได้มาตรฐานสากล”

ทั้งนี้ ดีพร้อมได้เร่งดำเนินการในหลายๆกิจกรรม เพื่อให้เอสเอ็มอีนำไปปรับปรุงกิจการ เช่น กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์, กิจกรรมพลิกธุรกิจ ด้วยโลจิสติกส์กับการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์, กิจกรรมเสริมสร้างความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ ดำเนินการโดยการโค้ชชิ่ง การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง และสร้างความร่วมมือ ทั้งภายในและภายนอกกลุ่มอุตสาหกรรม, กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

“สถานประกอบการเป้าหมายอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม ที่มีต้นทุนโลจิสติกส์สูง อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมีและพลาสติก ยานยนต์และชิ้นส่วน ยางพารา ส่วนสถานประกอบการ อาทิ เกษตรแปรรูป และเครื่องจักรกล โดยจะพัฒนาสถานประกอบการไม่ต่ำกว่า 170 กิจการ และพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมให้มีทักษะและองค์ความรู้ที่นำไปใช้ได้จริงไม่ต่ำกว่าจำนวน 100 ราย”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ