กฟผ.ปรับโฉมสู่แวดวงสตาร์ตอัพและเอสเอ็มอีอัจฉริยะ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

กฟผ.ปรับโฉมสู่แวดวงสตาร์ตอัพและเอสเอ็มอีอัจฉริยะ

Date Time: 21 ก.ค. 2564 06:10 น.

Summary

  • คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการจัดตั้งบริษัทนวัตกรรมของกลุ่มการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดย กฟผ.ถือหุ้น 40% ระยะเวลา 5 ปี (ปี 2564-2568)

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการจัดตั้งบริษัทนวัตกรรมของกลุ่มการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดย กฟผ.ถือหุ้น 40% ระยะเวลา 5 ปี (ปี 2564-2568) เงินลงทุนรวม 1,184 ล้านบาท โดยให้เบิกจ่ายเป็นรายปีจนครบวงเงินลงทุน 1,184 ล้านบาท ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ซึ่งการจัดตั้งบริษัทนวัตกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในเทคโนโลยีใหม่หรือ Disruptive Technology ซึ่งจะเข้ามาแทนที่เทคโนโลยีเดิมที่จะส่งผลกระทบต่อ กฟผ.และธุรกิจพลังงานในอนาคต รวมทั้งจะช่วยสร้างเครือข่ายนักวิจัย สถาบัน สตาร์ตอัพ และเอสเอ็มอีอัจฉริยะหรือ Smart SMEs ภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศในการดำเนินงานด้านนวัตกรรมและการลงทุนในโครงการนวัตกรรมต่างๆ โดยกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานหมุนเวียน การซื้อขายไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงาน โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) และยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น

สำหรับแผนการลงทุนของบริษัทนวัตกรรมในระยะ 5 ปีแรก (ปี 2564-2568) ประกอบด้วย 1.หน่วยงานสนับสนุนแนวคิดทางธุรกิจใหม่ๆ (Collaborator) 2.หน่วยงานเพื่อการบ่มเพาะธุรกิจ (Incubator) และหน่วยงานเพื่อเร่งการเติบโตธุรกิจ (Accelerator) 3.หน่วยงาน Corporate Venture Capital (CVC) เป็นหน่วยงานที่องค์กรด้านพลังงานจัดตั้งเพื่อลงทุนในบริษัทคลื่นลูกใหม่ (Startup) ช่วยสร้างรายได้รูปแบบใหม่แก่บริษัทแม่ 4.หน่วยงานเพื่อเตรียมการจัดตั้งโครงการวิจัยและการพัฒนา.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ