เปิดเงื่อนไข "9 กลุ่มอาชีพ" ในพื้นที่ 10 จังหวัดสีแดงเข้ม ใครจะได้รับสิทธิ์เงินเยียวยารอบใหม่ 2,500 บาท กับ 5,000 บาท
จากมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติมาตรการเยียวยาประชาชนรอบใหม่ในกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบจาก ประกาศ "เคอร์ฟิว" และ "ล็อกดาวน์" เฉพาะในพื้นที่ 10 จังหวัด พื้นที่สีแดงเข้ม หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และ สงขลา โดยจะมีรูปแบบการให้ความช่วยเหลือที่แตกต่างกันไป ซึ่งจะต้องอยู่ใน 9 หมวดกิจกรรม หรือ 9 กลุ่มอาชีพ ดังนี้
1. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
2. การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
3. การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์
4. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
5. กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ
6. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
7. การก่อสร้าง
8. กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ
9. ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ (ตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่)
1. ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่อยู่ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) และจ่ายสมทบให้ลูกจ้างสัญชาติไทยที่ได้รับผลกระทบอีก 2,500 บาทต่อคน รวมแล้วได้สูงสุด 10,000 บาท แต่หากเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ไม่ได้รับผลกระทบจะไม่เข้าข่ายการเยียวยานี้
หรือในกรณีลูกจ้างติดโควิด-19 และต้องกักตัว 14 วัน ให้ถือว่าลูกจ้างอยู่ในสถานะป่วย และสามารถใช้สิทธิ์ลาป่วย หรือใช้สิทธิ์หยุดพักผ่อนประจำปีได้ ดังนั้น ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในช่วงเวลานี้ แต่หากต้องใช้เวลากักตัวมากกว่า 14 วัน ก็ยังถือเป็นการลาป่วยเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามภาวะของโรค และมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างตามกฎหมาย
หรือในกรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิ์ลาป่วยในรอบปีครบ 30 วันแล้ว รวมทั้งลาหยุดพักผ่อนประจำปีครบแล้ว หากทางราชการมีคำสั่งให้หยุดเพื่อดูอาการ 14 วัน หรือบริษัทมีคำสั่งให้หยุดดูอาการถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยได้ โดยนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างได้ แต่จะถือว่าขาดงานไม่ได้ ให้ลูกจ้างไปใช้สิทธิ์เงินทดแทนจากประกันสังคมตามสิทธิ์ที่พึงได้ตามหลักเกณฑ์ที่ สปส. กำหนดแทน
2. นายจ้าง มาตรา 33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายให้ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อคน สูงสุดไม่เกิน 200 คน
3. ผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 สัญชาติไทย จะได้รับความช่วยเหลือคนละ 5,000 บาท
4. ผู้ที่อยู่นอกระบบมาตรา 33 หรือเป็นอาชีพอิสระ จะต้องเตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 กับสำนักงานประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือจำนวน 5,000 บาท
5. ผู้ประกอบการ หรือ นายจ้าง ที่มีลูกจ้างแต่ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม จะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินช่วยเหลือ ดังนี้
6. ผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมและไม่มีลูกจ้าง ให้เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 กับสำนักงานประกันสังคมภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือจำนวน 5,000 บาท
7. ผู้ประกอบการในระบบ "ถุงเงิน" ใน 5 หมวด ภายใต้โครงการคนละครึ่ง และโครงการเราชนะ ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม, ร้าน OTOP, ร้านค้าทั่วไป ร้านค้าบริการ และ กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่) ในปัจจุบันที่มีลูกจ้าง ให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 โดยรัฐจะช่วยจ่ายเงิน ดังนี้
8. ผู้ประกอบการในระบบ "ถุงเงิน" ใน 5 หมวด ภายใต้โครงการคนละครึ่ง และโครงการเราชนะ ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม, ร้าน OTOP, ร้านค้าทั่วไป ร้านค้าบริการ และ กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่) ในปัจจุบันที่ไม่มีลูกจ้าง ให้เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 โดยรัฐบาลช่วยเหลือค่าใช้จ่าย 5,000 บาทต่อคน.