คมนาคม เร่งงาน Land Bridge เชื่อมทะลอ่าวไทย อันดามัน รองรับขนส่งทางเรือ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

คมนาคม เร่งงาน Land Bridge เชื่อมทะลอ่าวไทย อันดามัน รองรับขนส่งทางเรือ

Date Time: 13 ก.ค. 2564 13:13 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • คมนาคม เร่งงาน Land Bridge เชื่อมทะเลอ่าวไทยและอันดามัน เน้นการพัฒนาเพื่อดึงดูดเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่-เรือขนส่งสินค้า หันมาใช้เส้นทางนี้ในอนาคต

Latest


คมนาคม เร่งงาน Land Bridge เชื่อมทะเลอ่าวไทยและอันดามัน เน้นการพัฒนาเพื่อดึงดูดเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่-เรือขนส่งสินค้า หันมาใช้เส้นทางนี้ในอนาคต

เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 64 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่า โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land Bridge) นั้น ได้มีการพิจารณาจากเกณฑ์การคัดเลือกที่ตั้งท่าเรือ ในด้านวิศวกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการลงทุน และด้านสังคม โดยคัดเลือกพื้นที่ศักยภาพที่มีความเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นท่าเรือแห่งใหม่ของประเทศไทย รองรับเรือขนส่งสินค้าจากฝั่งอ่าวไทย จังหวัดชุมพร และฝั่งอันดามัน จังหวัดระนอง

นอกจากจะเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมในการพัฒนาท่าเรือแล้ว แนวเส้นทางเชื่อมต่อทั้ง 2 ท่าเรือมีระยะทางที่สั้นและตรงที่สุด รวมถึงประหยัดเวลาในการเดินทางมากที่สุด ซึ่งน่าจะเป็นผลดีในการดึงดูดให้ผู้ประกอบการเข้ามาใช้เส้นทางขนส่ง Land Bridge ในอนาคต โดยจะทำการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม

รวมถึงแนวทางในการพัฒนาพื้นที่หลังท่าเรือให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ สอดคล้องกับตำแหน่งท่าเรือและแนวเส้นทางครอบคลุมครบทุกมิติ และนำตำแหน่งที่ตั้งท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง ทั้งนี้ได้มีการดำเนินการจัดทำการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อพิจารณาผลตอบรับจากประชาชนในพื้นที่ต่อไป

จากการศึกษารูปแบบและปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ พบว่า การขนส่งสินค้าทางทะเล มีมากถึง 80% ของการขนส่งสินค้าของโลก หรือคิดเป็นปริมาณสินค้าเท่ากับ 11.1 พันล้านตัน และมีการขนส่งผ่านช่องแคบมะละกามากถึง 1 ใน 4 ของการขนส่งสินค้าทางทะเลของโลก

โดยหนึ่งในประเภทสินค้าที่มีการขนส่งทางช่องแคบมะละกามากที่สุด คือการขนส่งสินค้าประเภทน้ำมัน (Tanker) ซึ่งการพัฒนาเพื่อดึงดูดให้เรือขนส่งน้ำมันขนาดใหญ่ และเรือขนส่งสินค้า ให้หันมาใช้เส้นทาง Land Bridge ในอนาคต จะเป็นโจทย์สำคัญของการศึกษาโครงการ เพื่อยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำของภูมิภาคอาเซียน

ล่าสุดกระทรวงคมนาคม ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาท่าเรือและด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ ด้านการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษ รถไฟเชื่อมท่าเรือ และการขนส่งทางท่อ ด้านการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนและกฎหมาย และด้านการสื่อสารสาธารณะ

ทั้งนี้ การตั้งคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อให้การดำเนินโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ของกระทรวงคมนาคม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมตามเป้าหมายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน

นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้ศึกษาเพิ่มเติมถึงปัจจัยที่จะส่งเสริมให้สายการเดินเรือต่าง ๆ มาใช้บริการโครงการ Land Bridge ได้ รวมถึงให้พิจารณาการเพิ่มของปริมาณการนำเข้า-ส่งออกทางน้ำ ภายหลังจากมีการพัฒนาโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) รวมถึงเปรียบเทียบแนวทางเลือกการเชื่อมต่อระหว่างฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ระหว่างการทำอุโมงค์แยกระหว่างรถไฟและรถยนต์ และการทำอุโมงค์รวมทั้งรถไฟและรถยนต์ โดยเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ ให้รอบด้าน นอกจากนี้ในการศึกษาการพัฒนาพื้นที่หลังท่า ให้คำนึงถึงชุมชน วิถีชีวิต และปัจจัยต่างๆ อย่างรอบด้านด้วย


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ