ยืนยันเร่งโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 รองรับขนส่งสินค้า

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ยืนยันเร่งโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 รองรับขนส่งสินค้า

Date Time: 24 มี.ค. 2564 16:58 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • การท่าเรือแห่งประเทศไทยเผยผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ปริมาณสินค้าและตู้สินค้าผ่านท่าลดลง แต่มีทิศทางเพิ่มขึ้นหลังมีวัคซีนโควิด-19 ยันเดินหน้าท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3

Latest


การท่าเรือแห่งประเทศไทยเผยผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ปริมาณสินค้าและตู้สินค้าผ่านท่าลดลง แต่มีทิศทางเพิ่มขึ้นหลังมีวัคซีนโควิด-19 ยันเดินหน้าท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3

เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กล่าวถึงผลการดำเนินงาน กทท. ปีงบประมาณ 2564 ว่า ปริมาณสินค้าและตู้สินค้าผ่านท่าในช่วงไตรมาสแรก ปีงบประมาณ 2564 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงอยู่ที่ 6.24% หรือคิดเป็น 25.762 ล้านตัน และตู้สินค้าผ่านท่าลดลง 2.81% หรือ 2.311 ล้าน ที.อี.ยู. เป็นผลจากโควิด-19 แต่หลังจากไทยและหลายประเทศมีวัคซีนโควิด-19 ส่งผลให้ปริมาณสินค้าและตู้สินค้าผ่านท่ามีทิศทางฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญที่เป็นปัจจัยหลักสะท้อนการเติบโตของปริมาณสินค้า ส่งผลให้ในเดือน ม.ค.2564 ปริมาณสินค้าผ่านท่าเพิ่มขึ้น 3.57% อยู่ที่ 9.253 ล้านตัน จาก 8.934 ล้านตัน และตู้สินค้าผ่านท่าเพิ่มขึ้น 2.66% อยู่ที่ 773,055 ที.อี.ยู. จาก 753,042 ที.อี.ยู.

สำหรับทิศทางการดำเนินงานนั้น กทท.มีแผนยกระดับเป็นท่าเรือชั้นนำได้มาตรฐานสากล โดยมียุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการพัฒนาบริการและโครงสร้างพื้นฐานให้มีมาตรฐานในระดับโลก การพัฒนาสู่การเป็นประตูการค้าหลักและศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่ง การพัฒนาสินทรัพย์ในเชิงธุรกิจให้มีมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาการให้บริการและยกระดับการทำงานมุ่งสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงด้วยการนำระบบ Port Community System (PCS) หรือระบบศูนย์กลางเชื่อมโยงข้อมูลด้านขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์แบบไร้รอยต่อ ทั้งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านโลจิสติกส์ทั้งภาครัฐและเอกชนมาใช้ เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการรองรับโครงข่ายการเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ในระดับนานาชาติ

เรือโทกมลศักดิ์ กล่าวต่อว่า กทท.จะเดินหน้าเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือของประเทศ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือภูมิภาค โดยจะเร่งพัฒนาโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ขยายพื้นที่รองรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่มากขึ้น สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าได้ 18 ล้าน ที.อี.ยู.ต่อปี ตลอดจนพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับให้ท่าเรือแหลมฉบังกลายเป็นท่าเรือหลักของภูมิภาคและเป็นเมืองท่าแห่งอนาคต

นอกจากนั้นยังมีอีกหนึ่งโครงการ คือ การพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟ เพื่อก่อสร้างลานขนถ่ายตู้สินค้าทางรถไฟบนพื้นที่ 600 ไร่ ให้สามารถรองรับรถไฟได้ 12 ขบวน พร้อมติดตั้งเครื่องมือยกขนตู้สินค้าชนิดเดินบนราง (Rail Mounted Gantry Crane : RMG) ซึ่งจะรองรับตู้สินค้าได้ 2 ล้าน ที.อี.ยู.ต่อปี รวมทั้งโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ) ที่จะเชื่อมโยงการขนส่งภายในประเทศ และระบบโลจิสติกส์ได้อย่างครบวงจร

ผู้อำนวยการ กทท. กล่าวอีกว่า สำหรับท่าเรือกรุงเทพมีการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือทุ่นแรง รวมถึงกระบวนการทำงานภายในให้สามารถนำไปสู่การยกระดับการพัฒนาให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง พัฒนารูปแบบการให้บริการและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยมีโครงการปรับปรุงและพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง 20G ส่งเสริมระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) และพัฒนาระบบขนส่ง และการขนถ่ายสินค้าให้มีโครงข่ายเชื่อมโยง (Logistics Chain) ภายในประเทศ ให้สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าได้ 240,000 ที.อี.ยู.ต่อปี โครงการพัฒนาท่าเรือฝั่งตะวันตกในลักษณะท่าเรืออัตโนมัติ มีการนำเอาระบบ Semi-Automated Operation ที่มีประสิทธิภาพ โครงการพัฒนาเส้นทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษ สายบางนา-อาจณรงค์ (S1) เพื่อส่งเสริมระบบการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ และพัฒนาระบบการขนส่ง และเชื่อมโยงโครงข่ายโลจิสติกส์ของประเทศ และยกระดับการให้บริการเชื่อมโยงการขนส่งภายในประเทศ รวมทั้งโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยในชุมชนคลองเตย และยกระดับชีวิตของชุมชนโดยรอบท่าเรือ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ