"เราชนะ" เพิ่มปุ่มใหม่ เช็กเลยคนกลุ่มใดบ้างที่ต้องกด "สละสิทธิ์"

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

"เราชนะ" เพิ่มปุ่มใหม่ เช็กเลยคนกลุ่มใดบ้างที่ต้องกด "สละสิทธิ์"

Date Time: 15 ก.พ. 2564 16:53 น.

Video

เปิดเคล็ดลับ ลดหย่อนภาษี ถือสั้น กำไรพุ่ง ต้องซื้อกองทุนฯ แบบไหน ? | Money Issue

Summary

  • เว็บไซต์ www.เราชนะ.com เพิ่มปุ่ม "สละสิทธิ์" สำหรับผู้ได้รับสิทธิ์ แต่คุณสมบัติไม่เข้าเกณฑ์ ย้ำ ลูกจ้างประจำ ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ไม่กด ระวังโดนเรียกเงินคืน

Latest


เว็บไซต์ www.เราชนะ.com เพิ่มปุ่ม "สละสิทธิ์" สำหรับผู้ได้รับสิทธิ์ แต่คุณสมบัติไม่เข้าเกณฑ์ ย้ำ ลูกจ้างประจำ ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ไม่กดระวังโดนเรียกเงินคืน

วันที่ 15 ก.พ.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากโครงการ "เราชนะ" ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้วยการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยรัฐบาลจะสนับสนุนวงเงินไม่เกิน 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน ให้กับ 1. กลุ่มถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2. กลุ่มมีแอปฯ เป๋าตัง (เฉพาะผู้ใช้สิทธิ์โครงการ) และ 3. กลุ่มที่ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูล ซึ่งกลุ่มนี้ได้ปิดลงทะเบียนไปเมื่อวันที่ 12 ก.พ.64 ที่ผ่านมา

สำหรับคุณสมบัติผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการ เราชนะ มีดังนี้

  • เป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
  • ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐที่ได้รับค่าตอบแทนจากหน่วยงานของรัฐโดยตรง
  • ไม่เป็นข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • ไม่เป็นผู้รับบำนาญปกติหรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ
  • ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 300,000 บาท ตามฐานข้อมูลที่มีล่าสุดไม่มีเงินฝากรวมกันทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท ตามฐานข้อมูลที่มีล่าสุด

โดยล่าสุด เว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ได้เพิ่มปุ่มใหม่ คือ "ปุ่มสละสิทธิ์" (สีชมพู) สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติไม่เข้าเกณฑ์ เช่น ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งและเราเที่ยวด้วยกันก่อนหน้านี้ ถูกระบุว่าได้สิทธิ์เราชนะ จะต้องกดไม่เข้าร่วมมาตรการ "เราชนะ" เพราะถ้าหากระบบตรวจพบภายหลัง จะมีการเรียกเงินคืนภายหลัง.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ