งบรายจ่ายปี 2565 ลงตัวที่ 3.1 ล้านล้านบาท

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

งบรายจ่ายปี 2565 ลงตัวที่ 3.1 ล้านล้านบาท

Date Time: 6 ม.ค. 2564 06:01 น.

Summary

  • ที่ประชุม ครม.เห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 65 โดยมีวงเงินรายจ่าย 3.1 ล้านล้านบาท ลดลงจากงบปี 64 จำนวน 185,962 ล้านบาท

Latest

เตรียมพร้อม “ยื่นภาษี 2567” ช่วงต้นปี 2568 กับ 4 ความผิด ที่มักถูกกรมสรรพากรตรวจสอบย้อนหลัง

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 65 โดยมีวงเงินรายจ่าย 3.1 ล้านล้านบาท ลดลงจากงบปี 64 จำนวน 185,962 ล้านบาท หรือลดลง 5.66% โดยมีรายได้สุทธิ 2.4 ล้านล้านบาท ลดลงจากงบปี 64 จำนวน 277,000 ล้านบาท หรือลดลง 10.35% โดยในงบประมาณรายจ่ายปี 65 เป็นงบแบบขาดดุล 700,000 ล้านบาท ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากงบปีก่อนหน้า 91,037 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14.95% คิดเป็น 4.04% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)

สำหรับโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายปี 65 ประกอบด้วย รายจ่ายประจำ 2.35 ล้านล้านบาท ลดลงจากงบปี 64 จำนวน 183,249 ล้านบาท หรือลดลง 7.22% ของวงเงินงบประมาณ คิดเป็นสัดส่วน 75.95% ของวงเงินงบประมาณ, รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 596.7 ล้านบาท คิดเป็น 0.02% ของวงเงินงบประมาณ ,รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย 25,000 ล้านบาท คิดเป็น 0.80% ของวงเงินงบประมาณ รายจ่ายลงทุน 620,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 20% ของวงเงินงบประมาณ และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 100,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบปี 64 จำนวน 1,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.01% คิดเป็นสัดส่วน 3.22% ของวงเงินงบประมาณ

นอกจากนี้ ครม.ให้รับข้อสังเกตไปดำเนินการดังนี้ 1.การลงทุนในปีงบประมาณ 65 ควรพิจารณาให้ครอบคลุมการลงทุนจากทุกแหล่งเงิน ประกอบด้วย การลงทุนจากเงินงบประมาณของภาครัฐ การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน(พีพีพี) การลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และการลงทุนโดยใช้เงินจากกองทุน เช่น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) และการลงทุนจากต่างประเทศ 2.ควรกำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเงินงบฯโดยเฉพาะการใช้จ่ายที่เป็นการโอนเงินให้ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่น การให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่ากับผู้ถูกเลิกจ้างหรือผู้ที่อยู่ระหว่างหางานทำ ควรกำหนดเงื่อนไข ให้มีการฝึกอบรมทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ถูกเลิกจ้างในการหางานทำต่อไป และทำให้การใช้จ่ายงบฯเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3.เพื่อเป็นการสร้างศักยภาพของประเทศและความยั่งยืนในระยะต่อไปตามแผนการคลังระยะปานกลาง เห็นควรให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายงบฯเพื่อการลงทุนมากขึ้น และชะลอรายจ่ายประจำที่สามารถทำได้

ทั้งนี้ การตั้งวงเงินดังกล่าวอยู่ภายใต้สมมติฐาน เศรษฐกิจขยายตัว 3-4% อัตราเงินเฟ้อ 0.7-1.7% ซึ่ง ครม.ให้หน่วยงานที่รับงบประมาณ จัดทำคำขอมาที่สำนักงบฯ ภายใน 15 ม.ค.64 จากนั้นให้สำนักงบฯไปพิจารณาก่อนนำเสนอ ครม. 15 มี.ค.64.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ