นายกรัฐมนตรีปลื้ม "ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ" ประคองเศรษฐกิจราบรื่น

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

นายกรัฐมนตรีปลื้ม "ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ" ประคองเศรษฐกิจราบรื่น

Date Time: 11 พ.ย. 2563 15:03 น.

Summary

  • นายกรัฐมนตรีปลื้ม "ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ" ประคองเศรษฐกิจราบรื่นชื่นชอบโครงการคนละครึ่งช่วยประชาชนได้จริง

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

นายกรัฐมนตรีปลื้ม "ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ" ประคองเศรษฐกิจราบรื่นชื่นชอบโครงการคนละครึ่งช่วยประชาชนได้จริง 

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีพอใจ และชื่นชอบโครงการคนละครึ่ง โดยการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ (ศบศ.) สัปดาห์หน้าจะหารือมาตรการเศรษฐกิจ

โดยจะรับฟังจากข้อมูลและปรับปรุงมาตรการที่ผ่านๆมา ซึ่งถ้าเป็นมาตรการที่ดี ก็อาจให้ขยายและเพิ่มมาตรการออกไปอีกได้ ส่วนร้านค้าที่ทุจริตก็ให้กระทรวงการคลังไปดำเนินการ และเชื่อว่าประชาชนจะช่วยกันสอดส่อง เพราะเป็นประโยชน์กับ ประชาชนเอง ส่วนมาตรการทางภาษีเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนซื้อสินค้าคงทน กำลังประเมินสถานการณ์และความจำเป็นแต่ก็ต้องดูความเหมาะสม เช่น รถยนต์มียอดขายที่ดีขึ้นแล้ว

ส่วนเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งมากขึ้นมองว่า เป็นสถานการณ์ชั่วคราวเพราะผลสืบเนื่องมาจากการเลือกตั้งสหรัฐฯและข่าวดีเรื่องความคืบหน้าการคิดค้นวัคซีน โดยเป็นผลจากการเคลื่อนย้ายของเงินทุน (Fund flow) ที่ไหลเข้ามา โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ที่ดูแลเรื่องส่งออกจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นผลชั่วคราวในระยะสั้นที่ทำให้เงินไหลเข้ามาในตลาดทุน ตลาดหุ้น คงไม่ได้เป็น การเปลี่ยนแปลงเชิงปัจจัยพื้นที่ที่เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นในระยะยาว

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวต่อว่า ต้องถือว่ารัฐบาลสามารถประคองเศรษฐกิจไทยไว้ได้ดี ไม่ได้ตกต่ำอะไรแบบที่มีคนคาดว่าเศรษฐกิจจะติดลบมากดีกว่าที่คาดไว้ด้วยซ้ำ เสถียรภาพทางการเงินก็ยังดี เสถียรภาพทางการธนาคารก็ยังดีอยู่มาก โดยในปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจจะสามารถขยายตัวได้ไม่น้อยกว่า 4-5% โดยต้องเน้นไปที่เรื่องของการเร่งรัดการลงทุนซึ่งเมื่อมีเรื่องของปัจจัยบวก ทั้งในเรื่องของการเลือกตั้งสหรัฐฯ และเรื่องความคืบหน้าในการคิดค้นวัคซีนเป็นเรื่องที่มองว่าภาคเอกชนต้องเร่งรัดการลงทุนเพื่อรอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

“ภาครัฐก็ต้องมีแผนที่ชัดเจนมีการปฏิบัติการในเชิงรุกมากขึ้น ทั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (สกพอ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)โดยเฉพาะการชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศทั้งในการเข้ามาลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) และพื้นที่อื่นๆโดยมั่นใจว่า หากมีการเดินหน้าชักจูงการลงทุนอย่างจริงจังในส่วนของบริษัทที่อยู่ในเป้าหมายการลงทุนจริงจะเกิดขึ้นอย่างมากในปี 65 สิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งรัดให้ได้มากขึ้น ก็คือการเร่งรัดการเบิกจ่ายและการลงทุนของภาครัฐเอง”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ