เดินหน้าลุยแบน 2 สารเคมีอันตราย พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

เดินหน้าลุยแบน 2 สารเคมีอันตราย พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส

Date Time: 29 ก.ย. 2563 07:35 น.

Summary

  • ที่ประชุม ได้พิจารณาข้อเสนอจากบุคคลและองค์กรต่างๆ ที่ขอให้ขยายเวลาบังคับใช้กฎหมาย และทบทวนมติที่ให้ยกเลิกการใช้พาราควอต ซึ่งได้ลงมติอย่างเปิดเผย

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายว่า ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้ยังคงมติคณะกรรมการฯเมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมาไว้เหมือนเดิมคือ ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ.2563 ที่กำหนดให้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ห้ามการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.63 ส่วนไกลโฟเซตให้จำกัดการใช้ตามมติเมื่อวันที่ 23 พ.ค.61 เพราะที่ผ่านมา การพิจารณามีเหตุผลรองรับถึงอันตรายต่อสุขภาพอยู่แล้ว ประกอบกับหลายประเทศห้าม (แบน) ใช้สารดังกล่าวเช่นกัน

“ที่ประชุม ได้พิจารณาข้อเสนอจากบุคคลและองค์กรต่างๆ ที่ขอให้ขยายเวลาบังคับใช้กฎหมาย และทบทวนมติที่ให้ยกเลิกการใช้พาราควอต ซึ่งได้ลงมติอย่างเปิดเผย โดยกรรมการที่มาประชุมมี 24 ท่านจากทั้งหมด 27 ท่านนั้นมี 4 ท่านเห็นว่าควรทบทวนมติที่ให้ยกเลิกการใช้ แต่ 20 ท่านไม่เห็นด้วย จึงมีมติโดยเสียงส่วนใหญ่ เพราะเพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.63 และยังมีการฟ้องคดีอยู่ในศาลปกครอง จึงเห็นควรมอบให้กรมวิชาการเกษตร และกระทรวงสาธารณสุขนำข้อมูล และข้อสังเกตจากคณะกรรมการไปดำเนินการ และรายงานคณะกรรมการต่อไป หากมีผู้มาร้องเรียนให้ทบทวนอีก จะไม่นำมาพิจารณาอีกแล้ว เพราะถือว่าเป็นมติไปแล้ว”

สำหรับการหาสารทดแทนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสนั้น กรมวิชาการเกษตรจะเร่งออกประกาศสารทดแทน ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีสารทดแทนโดยตรง แต่ใช้เป็นสารทางเลือกในการควบคุมศัตรูพืช นอกจากนี้ คณะกรรมการยังเห็นชอบร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย 4 ฉบับ คือ

1.ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการให้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

2.ร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกี่ยวกับการกำหนดค่าคลาดเคลื่อนของสารสำคัญที่เป็นวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของกรมประมง

3.ร่างประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เกี่ยวกับหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการออกใบนำผ่านวัตถุอันตรายที่ อย.รับผิดชอบ

4.ร่างระเบียบคณะกรรมการวัตถุอันตรายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการเปรียบเทียบปรับ ซึ่งจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไป.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ