ดันเต็มสูบธุรกิจขนส่งพุ่งติดลมบน สศช.ลุยศึกษา 2 โครงการยักษ์

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ดันเต็มสูบธุรกิจขนส่งพุ่งติดลมบน สศช.ลุยศึกษา 2 โครงการยักษ์

Date Time: 11 ก.ย. 2563 05:30 น.

Summary

  • แผนการก่อสร้างโครงการนี้อยู่ในแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ และแผน ที่สศช.เคยเสนอโครงการการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

Latest

ธปท.จับตาเอสเอ็มอี สุดเปราะบาง  รายได้ไม่ฟื้น หนี้ท่วม จ่ายไม่ไหว  เชื่อคุมสถานการณ์ได้

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้มีการศึกษาโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ (แลนด์บริดจ์) ว่าแผนการก่อสร้างโครงการนี้อยู่ในแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ และแผน ที่สศช.เคยเสนอโครงการการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยศักยภาพของพื้นที่ภาคใต้ในอนาคต รวมทั้งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้วย ซึ่งโครงการแลนด์บริดจ์ที่รัฐบาลกำลังจะพัฒนาคือโครงการเชื่อมการขนส่งจากฝั่งอันดามันมายังฟังอ่าวไทยโดยใช้การขนส่งทางรางบริเวณ จังหวัดชุมพรและระนอง เป็นโครงการรถไฟทางคู่ เพื่อเชื่อมการขนส่งทั้งสองฝั่งทะเลเข้าด้วยกัน

นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการ สศช.กล่าวว่า สศช.จะลงพื้นที่เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการคือโครงการแลนด์บริดจ์รวมไปถึงโครงการคลองไทยที่เป็นข้อเสนอจากพื้นที่ผ่านมายังกรรมาธิการศึกษาในสภาฯ ซึ่งหน่วยงานได้รับการจัดสรรงบประมาณในปี 2564 ในการศึกษาโครงการในพื้นที่ภาคใต้แล้ว โดยต้องใช้เวลาศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ 1 ปี

สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์ สศช.ได้มีการศึกษาโครงการนี้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆมาหลายครั้ง โดยในแผนใหม่ที่มีการนำเสนอ เป็นโครงการแลนด์บริดจ์บริเวณ จังหวัดชุมพร-จ.ระนอง ซึ่งเน้นเรื่องของการขนส่งและโลจิสติกส์มากกว่าภาคอุตสาหกรรม โดยในโครงการจะอาศัยโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีอยู่ในพื้นที่อยู่ในพื้นที่คือท่าเรือจังหวัดระนอง แล้วสร้างท่าเรือแห่งใหม่ที่ชุมพร แล้วเชื่อมท่าเรือทั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน ด้วยรถไฟทางคู่ โดยท่าเรือที่มีอยู่ที่ระนองพอที่จะพัฒนาเป็นท่าเรือเชิงพาณิชย์ได้ แต่ข้อจำกัดที่มี คือเรื่องของพื้นที่หลังท่า ซึ่งไม่กว้างนัก ส่วนในเรื่องของร่องน้ำ หากจะรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ ก็อาจต้องมีการขุดร่องน้ำใหม่ให้เรือขนาดใหญ่เข้าได้ หรือจะมีรูปแบบอื่นๆในการรับสินค้าจากเรือเข้ามาที่ท่าเรือ

“สศช.พยายามดูแผนเรื่องของการพัฒนาท่าเรือ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวด้วย เช่น ให้มีที่จอดท่องเที่ยวได้ช่วยสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวควบคู่กันไปด้วย ในระยะต่อไปหากมีการพัฒนาโครงการถนนเรียบชายฝั่งทะเลหรือโครงการไทยแลนด์ริเวร่า ก็จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่มากขึ้นได้”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ