อยากเปิด "แฟรนไชส์" ต้องรู้ ต่อยอดเงินลงทุน หรือปล่อยให้จมอย่างน่าเสียดาย

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

อยากเปิด "แฟรนไชส์" ต้องรู้ ต่อยอดเงินลงทุน หรือปล่อยให้จมอย่างน่าเสียดาย

Date Time: 10 ก.ย. 2563 07:30 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก
  • เรื่องต้องรู้ ก่อนลงทุน เปิดแฟรนไชส์ อย่ามองแค่สาขาที่ขายดี
  • ประเมินเงินในกระเป๋า ก่อนลงทุน รวมถึงหาทำเลที่เหมาะกับแฟรนไชส์นั้นๆ
  • แม้ไม่ต้องทำการตลาดมากนัก แต่ต้องไม่ลืม การรักษามาตรฐาน เพื่อคงฐานลูกค้าเดิม และเพิ่มฐานลูกค้าใหม่


จากสถานการณ์ต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามาตั้งแต่ต้นปี 2563 เศรษฐกิจที่ชะลอตัว บริษัทต่างๆ ที่ต้องปรับขนาดองค์กรให้เล็กลง เพื่อพยุงให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ ทำให้หลายคนที่เคยทำงานเป็นพนักงาน ลูกจ้าง จำใจต้องออกมาหาทางหนทางประกอบอาชีพอื่นๆ เพื่อให้ตัวเองอยู่รอด และตั้งตัวให้ได้ ก่อนเงินทุนก้อนสุดท้ายที่สามารถงอกเงยได้จะหมดลง

การทำธุรกิจในรูปแบบ ซื้อ "แฟรนไชส์" จึงเป็นทางเลือกอีกทาง ที่หลายคนนึกถึง เพราะด้วยชื่อของแบรนด์สินค้าบางแบรนด์ที่ติดตลาดอยู่แล้ว แค่หาทำเล ที่ตั้งดีๆ ก็สามารถทำธุรกิจได้ทันที โดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณาให้เหนื่อย นอกจากนี้ นักลงทุน ยังได้เรียนรู้ และวางแผนการบริหารธุรกิจ จากเจ้าของแบรนด์ด้วย

ซึ่งแฟรนไชส์ ที่เห็นๆ อยู่ในบ้านเรา ก็มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร ร้านชานมไข่มุก ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ ร้านซักแห้ง บริการขนส่งสินค้า ฯลฯ


เรื่องต้องรู้ ก่อนลงทุน แฟรนไชส์

ก่อนจะเริ่มลงทุนกับแฟรนไชส์สักเจ้าหนึ่ง อย่ามองแค่ว่า ร้านดังกล่าว มีคนเข้าเยอะ ลูกค้าต่อแถวยาวเหยียด แต่ควรจะประเมินธุรกิจนั้นให้ดีเสียก่อน เพื่อที่จะได้เข้าใจในรูปแบบการทำงานของธุรกิจนั้นๆ ซึ่งถือเป็นประโยชน์ของผู้ลงทุนเอง

นอกจากนี้ ต้องประเมินด้วยว่า ธุรกิจดังกล่าว กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่ รวมถึงศึกษาภูมิหลังของธุรกิจนั้นๆ ว่ามีความน่าเชื่อถือ สถานภาพมั่นคง มากเพียงใด ถ้าหากมีรูปแบบของแฟรนไชส์ที่เราสนใจ มีหลายแบรนด์ให้เลือก ลองนำข้อมูลมากาง แล้ววิเคราะห์ เปรียบเทียบ ข้อมูลกัน เพื่อให้ได้แฟรนไชส์ที่ตอบโจทย์กับผู้ลงทุนอย่างเรามากที่สุด

“ทำเล” ต้องเหมาะกับสิ่งที่ลงทุน


ที่สำคัญ ต้องประเมินตัวเองด้วยว่า เงินที่อยู่ในกระเป๋า เพียงพอต่อการนำไปลงทุนในแฟรนไชส์นั้นๆ หรือไม่ เพราะบางคนนอกจากจะต้องเสียค่าแฟรนไชส์แล้ว ยังต้องกันเงินส่วนหนึ่ง ไปลงทุนเช่าที่ ทำเลที่คิดว่า จะสามารถเดินหน้าธุรกิจของตัวเองได้

หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่า ทำเล ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง ดังนั้น การเลือกทำเลให้เหมาะกับธุรกิจ หรือกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจที่ทำแฟรนไชส์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย อาทิ หากสินค้า หรือบริการ ในแฟรนไชส์ของเรา มีราคาค่อนข้างสูง การตั้งอยู่ใกล้สถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนอาจจะไม่เหมาะสม เท่ากับการตั้งอยู่ใกล้กับย่านธุรกิจ หรือย่านออฟฟิศ

รักษามาตรฐาน คงฐานลูกค้า


แม้การลงทุน ในธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้ลงทุน จะไม่ต้องเสียค่าการตลาดเริ่มต้น แต่การรักษามาตรฐานในเรื่องการให้บริการ คุณภาพสินค้า ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นหนทางในการรักษาฐานลูกค้า รวมถึงเพิ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ

นอกจากนี้ การวางกลยุทธ์การตลาดของตัวเอง ที่ไม่ขัดกับข้อตกลงของแฟรนไชส์ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ หรือซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยป้องกันการขาดทุนด้วย

อย่างไรก็ตาม ในสินค้า หรือบริการที่กำลังได้รับความนิยมในช่วงนั้นๆ มักจะมีแบรนด์ที่หันมาเปิดแฟรนไชส์ เพื่อขยายธุรกิจ แข่งกันเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ใครที่จะลงทุน อาจจะต้องศึกษา หรือคิดแผนป้องกัน หากเกิดปัญหาไว้ล่วงหน้าด้วย ไม่อย่างนั้น ธุรกิจที่จะมาต่อลมหายใจ อาจหยุดชะงัก หรือต้องยุติลงได้.

ผู้เขียน : เจ๊ดา วิภาวดี
กราฟิก : Taechita Vijitgrittapong


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ