ตั้งข้อสงสัยกรมการค้าภายใน พิรุธผลิตหน้ากากอนามัยเกิน ให้รัฐรับซื้อเกินราคาควบคุม

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ตั้งข้อสงสัยกรมการค้าภายใน พิรุธผลิตหน้ากากอนามัยเกิน ให้รัฐรับซื้อเกินราคาควบคุม

Date Time: 8 ก.ค. 2563 06:55 น.

Summary

  • ขณะนี้การผลิตหน้ากากอนามัยของไทยเพิ่มขึ้นมากมาอยู่ที่วันละประมาณ 4.2ล้านชิ้น เพราะมีโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยตั้งใหม่หลายราย ล่าสุด มีโรงงานที่ผลิตได้มาตรฐาน และขายให้กับรัฐรวม 16 ราย

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ขณะนี้การผลิตหน้ากากอนามัยของไทยเพิ่มขึ้นมากมาอยู่ที่วันละประมาณ 4.2ล้านชิ้น เพราะมีโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยตั้งใหม่หลายราย ล่าสุด มีโรงงานที่ผลิตได้มาตรฐาน และขายให้กับรัฐรวม 16 ราย ซึ่งรัฐรับซื้อวันละ 3 ล้านชิ้น จัดสรรให้กระทรวงสาธารณสุข 1.8 ล้านชิ้น และกระทรวงมหาดไทย 1.2 ล้านชิ้น ขณะเดียวกันวัตถุดิบสำคัญ โดยเฉพาะเมลท์โบลนที่เป็นแผ่นกรองเชื้อโรคหาซื้อได้ง่ายขึ้น และราคาถูกลง เพราะจีนกลับมาส่งออกมากขึ้น จากที่จำกัดการส่งออกเพื่อให้มีเพียงพอในประเทศ

ทั้งนี้ จากสถานการณ์การผลิตที่ดีขึ้น รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยเริ่มดีขึ้น ส่งผลให้มีหน้ากากอนามัยส่วนเกินมากถึงวันละ 1.2 ล้านชิ้น ดังนั้น เมื่อเร็วๆนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงมีมติให้กรมการค้าภายใน หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแนวทางบริหารจัดการให้เหมาะสม

“จากการหารือกับกรมบัญชีกลาง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข เห็นตรงกันว่ารัฐจะรับซื้อหน้ากากอนามัยส่วนเกินวันละ 1.2 ล้านชิ้น เพื่อนำมาขายให้หน่วยงานที่มีความจำเป็นต้องใช้ในราคาต้นทุน เช่น บริษัท การบินไทย, สายการบินต่างๆ, สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (สตม.), ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) ส่วน 3 ล้านชิ้น ที่จัดสรรให้สาธารณสุข และมหาดไทย ได้รับแจ้งว่าสาธารณสุขตุนไว้เกิน 1 เดือนแล้ว จังหวัดต่างๆก็เช่นกัน”

กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการเฉพาะกิจบริหารจัดการพัสดุสำหรับการป้องกันควบคุมหรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้เสนอให้คณะกรรมการเฉพาะกิจ พิจารณาปรับเปลี่ยนวิธีการจัดซื้อหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ใหม่ จากในช่วงก่อนหน้า รัฐรับซื้อจากโรงงานทุกวันที่ชิ้นละ 4.28 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) มาเป็นวิธีการประมูล โดยให้โรงงานเสนอราคาขายมา รายใดเสนอต่ำสุด รัฐจึงจะรับซื้อ ทำให้การซื้อเดือน มิ.ย.ซื้อได้ในราคาต่ำลงที่ชิ้นละ 4-4.15 บาท ส่วนเดือน ก.ค. เหลือเพียงชิ้นละ 3.65 บาท และคาดว่าราคาในเดือน ส.ค.นี้จะต่ำลงอีก ทั้งนี้ คณะกรรมการเฉพาะกิจเห็นชอบให้ต่ออายุการห้ามส่งออกต่อไปอีกจนถึงสิ้นสุดวันที่ 3 ก.พ.64.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ