สรุปมาตรการช่วยลูกหนี้ เดือดร้อนโควิด จ่ายขั้นต่ำ ลดดอกเบี้ย เพิ่มวงเงิน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

สรุปมาตรการช่วยลูกหนี้ เดือดร้อนโควิด จ่ายขั้นต่ำ ลดดอกเบี้ย เพิ่มวงเงิน

Date Time: 22 มิ.ย. 2563 15:20 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • สรุปมาตรการช่วยลูกหนี้ เพิ่มเติมระยะที่ 2 เดือดร้อนโควิด-19 ของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งจ่ายขั้นต่ำ ลดดอกเบี้ย เพิ่มวงเงิน เริ่มมีผล 1 ก.ค.นี้

Latest


สรุปมาตรการช่วยลูกหนี้ เพิ่มเติมระยะที่ 2 เดือดร้อนโควิด-19 ของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งจ่ายขั้นต่ำ ลดดอกเบี้ย เพิ่มวงเงิน เริ่มมีผล 1 ก.ค.นี้ 

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ธปท. ได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มาเป็นลำดับ ซึ่งมาตรการต่าง ๆ นั้นจะทยอยครบกำหนด ธปท. จึงได้หารือกับผู้ให้บริการทางการเงิน ประกอบด้วย สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สมาคมและชมรมของผู้ให้บริการทางการเงินรวม 9 แห่ง ออกมาตรการเพิ่มเติมระยะที่ 2 เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

1. มาตรการขั้นต่ำเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 (มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563) ให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และไม่เป็น NPLs ดังนี้

  • บัตรเครดิต เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด หรือขยายเวลาชำระหนี้ ดอกเบี้ยไม่เกิน 12% (พิจารณาให้ใช้วงเงินที่เหลือตามความสามารถในการชำระหนี้)
  • สินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีวงเงินหมุนเวียน เช่น บัตรกดเงินสด ลดอัตราผ่อนขั้นต่ำ ตามความสามารถในการชำระหนี้ หรือเปลี่ยนสินเชื่อระยะยาว 48 งวด หรือขยายเวลาชำระหนี้ ดอกเบี้ยไม่เกิน 22% (พิจารณาให้ใช้วงเงินที่เหลือตามความสามารถในการชำระหนี้)
  • สินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนชำระเป็นงวด และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ ให้ลดค่างวดอย่างน้อย 30% โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22%
  • สินเชื่อเช่าซื้อ ไม่จำกัดวงเงิน เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือลดค่างวดโดยขยายเวลาชำระหนี้
  • สินเชื่อบ้าน ไม่จำกัดวงเงิน (เดิมไม่เกิน 3 ล้านบาท) ให้เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือเลื่อนชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาดอกเบี้ยให้ตามความเหมาะสม หรือลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้

ทั้งนี้ การช่วยเหลือตามมาตรการขั้นต่ำข้างต้นจะไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้ จึงไม่สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ และในกรณีที่ลูกหนี้ประสงค์จะชำระหนี้ก่อนกำหนด จะต้องไม่มีการคิดค่าเบี้ยปรับ (prepayment fee)

โดยลูกหนี้ที่ต้องการความช่วยเหลือสามารถแจ้งความประสงค์ผ่านช่องทางต่างๆ ของผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ Call Center หรือส่งข้อความ SMS ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จนถึง 31 ธันวาคม 2563

2. มาตรการเพิ่มวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ภายใต้การกำกับประเภทวงเงินหมุนเวียนหรือที่ผ่อนชำระเป็นงวด สำหรับลูกหนี้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วงเงินเพิ่มเติม และมีพฤติกรรมการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท ขยายวงเงินจากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 (มีผลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563)

3. ปรับลดเพดานดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป ร้อยละ 2 - 4 ต่อปี สำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ (มีผลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563) โดย

  • บัตรเครดิต ดอกเบี้ยเดิม 18% ต่อปี ลดลงเหลือ 16% ต่อปี ไม่ต้องเดือดร้อนจากโควิด-19 ก็ลดให้
  • วงเงินหมุนเวียน (Revolving loan) เช่น บัตรกดเงินสด ดอกเบี้ยเดิม 28% ต่อปี ลดลงเหลือ 25% ต่อปี
  • ผ่อนชำระเป็นงวด (Installment loan) ดอกเบี้ยเดิม 28% ต่อปี ลดลงเหลือ 25% ต่อปี
  • จำนำทะเบียนรถ ดอกเบี้ยเดิม 28% ต่อปี ลดลงเหลือ 24% ต่อปี

4. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ผู้ให้บริการทางการเงินต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ และกรณีที่ลูกหนี้ได้รับผลกระทบจนเป็น NPLs ขอให้พิจารณาชะลอการยึดทรัพย์


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ