คำแนะนำที่ควรรู้ กินปลาแซลมอนอย่างไรปลอดภัย เมื่อโควิด-19 ระบาดทั่วโลก

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

คำแนะนำที่ควรรู้ กินปลาแซลมอนอย่างไรปลอดภัย เมื่อโควิด-19 ระบาดทั่วโลก

Date Time: 15 มิ.ย. 2563 14:40 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • ในช่วงที่โลกมีการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ แนะนำการรับมือด้านความปลอดภัยทางอาหาร กินแซลมอนแบบไหนปลอดภัย โภชนาการดี ห่างไกลโรคโควิด-19

Latest


ในช่วงที่โลกมีการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ แนะนำการรับมือด้านความปลอดภัยทางอาหาร กินแซลมอนแบบไหนปลอดภัย โภชนาการดี ห่างไกลโรคโควิด-19
 
ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับการระบาดครั้งใหญ่ ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) ทำให้ต้องมีมาตรการในการป้องกันตัวเอง ไม่ให้เสี่ยงกับการสัมผัสเชื้อโรค นั่นคือ การให้ประชาชนรักษาระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ ไปจนถึงธุรกิจขนาดกลางและเล็ก มีนโยบายให้ทำงานจากที่บ้าน เพราะสิ่งสำคัญในเวลานี้ คือ การทำคุณภาพชีวิตของตัวเองให้ดีเมื่อต้องอยู่บ้าน คุณภาพชีวิตที่ดีที่บ้าน ประกอบไปด้วยการมีโภชนาการที่ดี การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และการออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้เวลานี้ หลายๆ คนเริ่มทำอาหารเอง หรือสั่งอาหารมาที่บ้านมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารนอกบ้าน

ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าการแพร่เชื้อของโรคโควิด-19 เกิดขึ้นได้จากคนสู่คนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าให้มองข้ามความจำเป็นในการปฏิบัติตามสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างเข้มงวด ในการจัดเตรียมอาหาร องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้

• ใช้เขียงและมีดแยกต่างหากสำหรับเนื้อดิบและอาหารที่ปรุงสุกแล้ว
• ล้างมือทุกครั้งระหว่างการเตรียมเนื้อดิบและอาหารที่ปรุงสุกแล้ว
• ไม่ควรรับประทานสัตว์ป่วยหรือสัตว์ที่ตายจากโรค
• ถึงแม้ในพื้นที่ที่มีการระบาดของไวรัส  วัตถุดิบเนื้อต่างๆ ยังสามารถรับประทานได้หากผ่านการปรุงสุกอย่างทั่วถึง และมีการจัดเตรียมอย่างถูกต้อง
 


การมีโภชนาการที่ดีควรมีสัดส่วนของโปรตีนที่เหมาะสม นอกเหนือจากเนื้อสัตว์แล้วยังมีตัวเลือกอาหารอื่นๆ ที่มีโปรตีนสูง เช่น เต้าหู้ ชีส เห็ด ถั่ว ธัญพืชต่างๆ และ ปลา อาหารทะเลถือเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี และหนึ่งในปลาที่คนไทยนิยมบริโภค ซื้อหามารับประทาน นั่นคือ ปลาแซลมอน ทั้งในรูปแบบของการรับประทานดิบตามสไตล์อาหารญี่ปุ่น หรือการปรุงสุกตามแบบของตะวันตก

ก่อนหน้านี้ ช่วงที่โควิด-19 ระบาดในประเทศไทยใหม่ ได้เกิดความเข้าใจผิดจากผู้บริโภค จากกรณีประกาศจากองค์กรอนามัยโลก (WHO) ด้านความปลอดภัยของอาหาร ที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) โดยองค์กรอนามัยโลก แนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการหยิบจับหรือบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเนื้อสัตว์ดิบ หรือปรุงไม่สุก นั่นกลายเป็นกระแสความวิตกกังวลต่อการบริโภคอาหารทะเลดิบ โดยเฉพาะอาหารญี่ปุ่น เนื่องจากผู้คนกลัวติดโรคโควิดจากเนื้อปลา

แต่อย่างไรก็ตาม ประกาศขององค์กรอนามัยโลกไม่ได้มีการกล่าวถึงอาหารทะเล และไม่ถือว่าเป็นอาหารที่เป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และปลาแซลมอนที่จำหน่ายในประเทศไทย มีน้อยมากที่นำข่าวจากญี่ปุ่นที่ขณะนั้นเป็นพื้นที่มีการระบาด โดยปลาแซลมอนที่มีจำหน่ายในเมืองไทย 87% ถูกนำเข้ามาจากนอร์เวย์ ทางสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ได้ดำเนินการ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า การจัดส่งอาหารที่ปลอดภัย ยั่งยืน และมีคุณค่าทางโภชนาการท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19

เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขแนะนำให้บริโภคแซลมอน เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงสัปดาห์ละครั้ง แซลมอนจากนอร์เวย์ได้รับการรับรองว่า เป็นอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ สามารถรับประทานแบบดิบ เช่น ซูชิ และซาชิมิ ได้ แม้ไม่ผ่านการแช่แข็ง การเพาะเลี้ยงแซลมอนจากนอร์เวย์เป็นไปตามกฎระเบียบที่เข้มงวดเพื่อความปลอดภัยด้านอาหารตามกฎหมายของสหภาพยุโรป นอร์เวย์มีการติดตามสารพิษตกค้างจากยาและสิ่งแวดล้อมในปลาที่เพาะเลี้ยงทุกๆ ปี และเลี้ยงดูแซลมอนด้วยอาหารแห้งที่ผ่านกรรมวิธีอบร้อนทำให้ปราศจากพยาธิ ปลาแซลมอนจากนอร์เวย์ไม่เป็นพาหะ ผู้บริโภคจึงไม่สามารถรับเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้จากการรับประทานแซลมอน

 
สิ่งสำคัญช่วงเวลาวิกฤติแบบนี้ คือ เราต้องตั้งสติให้ดี ในการรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ก่อนลงมือทำอะไรก็ตาม หากแม้จะมีความกังวลอยู่บ้างแต่อย่าตื่นตระหนก แนะนำให้พยายามรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ นอนหลับให้เพียงพอ และออกกำลังกายอยู่เสมอ เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน กินร้อน ช้อนเรา ล้างมือ หากต้องกักตุนอาหารเพื่อการอยู่บ้าน ให้เลือกวัตถุดิบคุณภาพสูงจากร้านค้าปลีกที่น่าเชื่อถือ มีบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ปลอดภัย จากแบรนด์และประเทศแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้เป็นหลัก.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์