ปล่อยกู้สินเชื่อเพื่อการปรับตัว “คลัง” ช่วยผู้ประกอบการขนส่ง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ปล่อยกู้สินเชื่อเพื่อการปรับตัว “คลัง” ช่วยผู้ประกอบการขนส่ง

Date Time: 11 มิ.ย. 2563 07:49 น.

Summary

  • ลุ่มผู้ประกอบการขนาด กลาง และขนาดเล็ก และเอสเอ็มอี ที่เป็นผู้ขนส่ง (โลจิสติกส์) ทางบก 300,000 ราย ได้ขอให้ช่วยเสริมสภาพคล่องและดูแลการจ้างงาน

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

 

นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวหลังรับหนังสือร้องเรียน จากสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ว่า กลุ่มผู้ประกอบการขนาด กลาง และขนาดเล็ก และเอสเอ็มอี ที่เป็นผู้ขนส่ง (โลจิสติกส์) ทางบก 300,000 ราย ได้ขอให้ช่วยเสริมสภาพคล่องและดูแลการจ้างงาน ในระบบขนส่งที่มีจำนวน 5-6 ล้านราย ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งตนจะแบ่งการช่วยเหลือออกเป็น 2 แนวทาง คือ

1.ช่วยเหลือเฉพาะหน้า และเสริมสภาพคล่อง โดยใช้มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) 500,000 ล้านบาท ที่ปัจจุบันปล่อยกู้ไปเพียง 70,000 ล้านบาท ยังเหลืออีก 430,000 ล้านบาท รวมถึงสินเชื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีของธนาคารออมสิน 150,000 ล้านบาท โดยจะเร่งพิจารณามาตรการเสริม เพื่อช่วยดูแลสภาพคล่องกลุ่มเอสเอ็มอีที่ไม่สามารถเข้าถึงธนาคารพาณิชย์ และไม่เคยกู้ธนาคารพาณิชย์มาก่อน โดยกำลังออกแบบมาตรการอยู่ในขณะนี้

2.คือระยะฟื้นฟู เพราะหลังจากโควิด-19 คลี่คลาย ธุรกิจขนส่งจะเปลี่ยนรูปแบบไป เพราะจะมีคู่แข่งจากต่างประเทศมากขึ้น ลักษณะการค้าขายและการใช้บริการก็จะเปลี่ยน จึงต้องให้เอสเอ็มอีปรับตัวเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้านขนส่ง

“กระทรวงฯอาจจะออกมาตรการทางด้านการเงิน ผ่านสินเชื่อเพื่อการปรับตัว โดยใช้เงินจากสถาบันการเงินของรัฐ และมาตรการที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น การพัฒนาบุคลากรในระบบขนส่ง อีกแนวคิดหนึ่งที่ผู้ประกอบการเสนอมา คือเรื่องดิจิทัล แพลตฟอร์ม สำหรับขนส่งระดับชาติ เรื่องนี้ต้องหารือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เพื่อสร้างแพลตฟอร์ม”

นายทองอยู่ คงขันธี สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้มายื่นเสนอให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องการลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากเดิม 1% เหลือ 0.5% ระยะเวลา 2 ปี เพื่อช่วยเหลือสภาพคล่อง เพราะในภาวะปกติ ธุรกิจขนส่งมีเม็ดเงินหมุนเวียนปีละ 200,000-300,000 ล้านบาท และเป็นเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย 2,000-3,000 ล้านบาท หากกระทรวงการคลังช่วยเหลือในส่วนนี้ จะทำให้ผู้ประกอบการมีเงินหมุนเวียน 1,000 ล้านบาท.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ