“อุตตม” ชี้เก็บภาษีอี-เซอร์วิส แพลตฟอร์มดิจิทัลต่างประเทศ มีประโยชน์

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

“อุตตม” ชี้เก็บภาษีอี-เซอร์วิส แพลตฟอร์มดิจิทัลต่างประเทศ มีประโยชน์

Date Time: 10 มิ.ย. 2563 18:38 น.

Video

บัญชีม้า เกลื่อนเมือง คนไทยอยู่อย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ ? | Money Issue

Summary

  • “อุตตม” เตรียมช่วยผู้ประกอบการขนส่ง หนุนเข้าถึงแหล่งทุน ฟื้นฟูธุรกิจหลังโควิดคลี่คลาย พัฒนาแพลตฟอร์มโลจิสติกส์ หลังการขนส่งลดลงกว่า 50% ส่วนเรื่องเก็บภาษีแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างประเทศ

Latest


“อุตตม” เตรียมช่วยผู้ประกอบการขนส่ง หนุนเข้าถึงแหล่งทุน ฟื้นฟูธุรกิจหลังโควิดคลี่คลาย พัฒนาแพลตฟอร์มโลจิสติกส์ หลังการขนส่งลดลงกว่า 50% ส่วนเรื่องเก็บภาษีแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างประเทศ มีประโยชน์

เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.2563 นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวหลังรับหนังสือร้องเรียนจากสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ว่า กลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็ก และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่เป็นผู้ขนส่ง (โลจิกติกส์) ทางบกกว่า 300,000 ราย ได้เดินทางเข้ามาหารือกับทางกระทรวงการคลังเพื่อขอให้ช่วยเสริมสภาพคล่องและดูแลการจ้างงานในระบบขนส่งที่มีมากกว่า 5-6 ล้านราย

อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มีนโยบายให้ดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลัง แบ่งการช่วยเหลือออกเป็น 2 แนวทาง คือ แนวทางแรก การช่วยเหลือเฉพาะหน้า และเสริมสภาพคล่อง โดยให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ ใช้มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จำนวน 500,000 ล้านบาท ที่ปัจจุบันปล่อยกู้ไปเพียง 70,000 ล้านบาท ดังนั้นยังเหลืออีก 430,000 ล้านบาท รวมถึงสินเชื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีของธนาคารออมสิน 150,000 ล้านบาทด้วยซึ่งยังเหลือวงเงินอยู่เล็กน้อย

“กระทรวงการคลังกำลังเร่งพิจารณามาตรการเสริมเพื่อช่วยดูแลสภาพคล่องกลุ่มเอสเอ็มอี ที่ไม่สามารถเข้าถึงธนาคารพาณิชย์ และไม่เคยกู้ธนาคารพาณิชย์มาก่อน โดยกำลังออกแบบกลไกตรงนี้อยู่ โดยได้เชิญ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เข้ามาหารือกับกระทรวงการคลัง ในการดำเนินการช่วยเหลือเอสเอ็มอีด้วย”

ขณะที่ระยะที่สอง คือ ระยะฟื้นฟู เพราะหลังจากโควิด-19 คลี่คลาย ธุรกิจจนส่งจะรูปแบบไป จะมีคู่แข่งจากต่างประเทศมากขึ้น ลักษณะการค้าขายและการใช้บริการก็จะเปลี่ยน ดังนั้นจะต้องให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในไทยปรับตัวเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้านโลจิสติกส์ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นหนึ่งใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ที่ไทยอยากจะยกระดับ

สำหรับในเรื่องนี้กระทรวงการคลังอาจจะออกมาตรการทางด้านการเงิน ผ่านสินเชื่อเพื่อการปรับตัว โดยใช้เงินจากสถาบันการเงินของรัฐ และมาตรการที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น การพัฒนาบุคลากรในระบบโลจิสติกส์ อีกแนวคิดหนึ่งที่ผู้ประกอบการเสนอมา คือเรื่องดิจิทัลแพลตฟอร์ม สำหรับโลจิสติกส์ระดับชาติ โดยจะเป็นการรวมข้อมูลการขนส่งสินค้าทั่วประเทศ ซึ่งเรื่องนี้จะต้องหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรม และประสานกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เพื่อสร้างแพลตฟอร์ม”

ส่วนเรื่องพ.ร.บ.เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากแพลตฟอร์มดิจิทัลตัวกลางที่ให้บริการทางจากต่างประเทศ (e-Service) เช่น ดาวน์โหลดหนัง เพลง เกม จองโรงแรม เป็นต้น ที่เพิ่งผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปเมื่อเร็วๆ นี้ หลักการนี้ถือว่าเป็นหลักการสากล ในการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จากผู้ประกอบการต่างประเทศที่ให้บริการในประเทศไทย ซึ่งมีประโยชน์ต่อการจัดเก็บภาษีของไทย

ด้าน นายทองอยู่ คงขันธี สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศ กล่าวว่า ได้มายื่นเสนอให้รัฐบาลช่วยเหลือ 3 เรื่อง ได้แก่ 1. การลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากเดิม 1% เหลือ 0.5% ระยะเวลา 2 ปี เพื่อช่วยเหลือสภาพคล่อง ซึ่งในภาวะปกติ ธุรกิจขนส่งจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนปีละ 200, 000-300,000 ล้านบาท และเป็นเงินภาษี หัก ณ ที่จ่าย ราว 2, 000-3,000 ล้านบาท ทั้งนี้หากกระทรวงการคลังช่วยเหลือในส่วนนี้ จะทำให้ผู้ประกอบการมีเงินหมุนเวียนมากถึงกว่า 1,000 ล้านบาท

“ปัจจุบันระบบขนส่งในส่วนของรถโดยสาร กว่า 40,000 ราย ได้รับผลกระทบ ไม่มีการจ้างงานกว่า 60-70% ในช่วงโควิด-19 ระบาด ส่วนรถบรรทุกของผู้ประกอบการ จำนวน 300,000 ราย 1.4 ล้านคันทั่วประเทศ ปริมาณงานลดลง 50% ทั้งการขนส่งสินค้าภายในประเทศ การขนส่งเพื่อการนำเข้าและส่งออก และการขนส่งสินค้าผ่านแดน"


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ