ความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นรอบ 15 เดือน แต่ยังกังวลเศรษฐกิจและการว่างงานในอนาคต

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นรอบ 15 เดือน แต่ยังกังวลเศรษฐกิจและการว่างงานในอนาคต

Date Time: 5 มิ.ย. 2563 08:40 น.

Summary

  • ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ที่สำรวจจากประชาชนตัวอย่าง 2,248รายทั่วประเทศว่าดัชนีเดือน พ.ค.63 อยู่ที่ระดับ 48.2 เพิ่มขึ้นจาก 47.2ในเดือนเม.ย.63 ซึ่งเป็นการฟื้นตัวครั้งแรกในรอบ15เดือน

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ที่สำรวจจากประชาชนตัวอย่าง 2,248 รายทั่วประเทศว่า ดัชนีเดือน พ.ค.63 อยู่ที่ระดับ 48.2 เพิ่มขึ้นจาก 47.2 ในเดือน เม.ย.63 ซึ่งเป็นการฟื้นตัวครั้งแรกในรอบ 15 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 32.2 เพิ่มจาก 31.5 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต อยู่ที่ 55.7 เพิ่มจาก 54.6 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 40.2 เพิ่มขึ้น จาก 39.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานอยู่ที่ 46.6 เพิ่มจาก 46.0 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 57.7 ลดจาก 56.4

สาเหตุที่ดัชนีทุกรายการเพิ่มขึ้น เพราะรัฐบาลผ่อนคลายล็อกดาวน์ เปิดธุรกิจระยะที่ 1 และ 2 รวมถึงมาตรการเยียวยาผลกระทบทั้งด้านการเงินและการคลัง ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 4 ต่อ 3 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี จาก 0.75% เหลือ 0.50% ต่อปี เพราะเศรษฐกิจไทยปีนี้ มีแนวโน้มหดตัวมากกว่าประมาณการเดิม ตามเศรษฐกิจโลกที่หดตัวรุนแรง ขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังกังวลกับภาวะเศรษฐกิจและการว่างงานในอนาคต

นอกจากนี้ ยังพบว่าดัชนีการใช้จ่ายผู้บริโภคปรับตัวขึ้น เช่น ความต้องการซื้อรถยนต์คันใหม่, ซื้อบ้านหลังใหม่, ใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวและการลงทุนทำธุรกิจของเอสเอ็มอี แต่ค่าดัชนียังอยู่ระดับต่ำ แสดงให้เห็นว่าแม้ความเชื่อมั่นจะเริ่มฟื้นตัว แต่การซื้อรถยนต์คันใหม่ บ้านหลังใหม่ การท่องเที่ยวและการลงทุนยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะในช่วงนี้ “เศรษฐกิจไทยปี 63คาด ติดลบ 3.5-5% ไตรมาส 2 จีดีพีจะติดลบ 10% ซึ่งน่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว ดังนั้นไตรมาส 3 ต้องการให้เร่งอัดฉีดเม็ดเงินสู่ระบบเศรษฐกิจให้ได้อย่างน้อย 200,000 ล้านบาท เน้นจ้างงานในพื้นที่ เพื่อให้เงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจฐานรากได้รวดเร็ว รวมถึงให้รัฐผลักดันการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 500,000 ล้านบาทเพื่อช่วยเอสเอ็มอี คาดว่าเศรษฐกิจน่าจะเริ่มฟื้นตัวไตรมาส 4 เพราะการท่องเที่ยวน่าจะฟื้นตัว แต่ต้องไม่มีระบาดรอบ 2 และปัญหาการเมืองไม่รุนแรง”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ