แจก “แท็บเล็ต” เด็กในชนบท "ณหทัย" ออกโรงดัน "ดีอี" เร่งขยาย 5G

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

แจก “แท็บเล็ต” เด็กในชนบท "ณหทัย" ออกโรงดัน "ดีอี" เร่งขยาย 5G

Date Time: 4 มิ.ย. 2563 09:45 น.

Summary

  • การเรียนออนไลน์ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะกับเด็กนักเรียน หรือโรงเรียนที่ห่างไกลในชนบท ควรได้รับการแจก “แท็บเล็ต” ทุกโรงเรียน

Latest

เปิดคำตีความคณะกรรมการกฤษฎีกา “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” ขาดคุณสมบัติ!

“ณหทัย” ผอ.ทิวไผ่งาม ออกโรงแนะนำรัฐบาลควรพัฒนาโครงข่ายอินเตอร์เน็ต 5 จี ให้ครอบคลุมทั่วประเทศโดยเร็ว หากต้องการให้การเรียนออนไลน์ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะกับเด็กนักเรียน หรือโรงเรียนที่ห่างไกลในชนบท ควรได้รับการแจก “แท็บเล็ต” ทุกโรงเรียน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังความพยายามของรัฐบาล และโรงเรียนเอกชนที่จะให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือออนไลน์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในโรงเรียนของรัฐและเอกชนทั่วประเทศ แต่ปรากฏว่า มีผู้ออกมาคัดค้าน และแสดงความเห็นกันมากว่าหลายพื้นที่ในชนบทยังมีความยากจนอยู่ และไม่มีกำลังมากพอจะหาซื้อแท็บเล็ต หรือเครื่องมือเพื่อการเรียนทางออนไลน์ได้

นอกจากนี้ ยังมีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยไม่เห็นด้วยที่จะให้เด็กเรียนหนังสือผ่านระบบดังกล่าว เพราะพ่อแม่จะต้องมาคอยกำกับดูแลอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีทางไปทำมาหากินได้ หรือ การเรียนออนไลน์อาจทำให้เด็กอยู่ในโลกของตัวเองมากเกินไปจนห่างไกลจากสังคมนั้น

นางณหทัย ทิวไผ่งาม ผู้อำนวยการโรงเรียนทิวไผ่งาม ซึ่งเป็นโรงเรียนเข้าร่วมโครงการสอนผ่านออนไลน์ ตามแนวพระราชดำริเรื่องการศึกษาผ่านออนไลน์ เปิดเผยว่า ปัญหาใหญ่ในการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ในปัจจุบัน คือ เรื่องระบบโครงข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย รวมทั้งสัญญาณอินเตอร์เน็ตยังมีความแรงไม่พอที่จะส่งสัญญาณไปถึงโรงเรียนหรือพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล จึงทำให้หลายโรงเรียนหรือหลายพื้นที่ ประสบปัญหาไม่สามารถเรียนออนไลน์ได้ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้

ดังนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหาอันดับแรก คือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ที่ดูแลเรื่องระบบโครงข่ายอินเตอร์เน็ต ควรจะพัฒนาระบบโครงข่าย 5 จี ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพราะถ้าสัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่แรงพอ จะเกิดปัญหาการกระตุกของภาพหรือสัญญาณภาพไม่สามารถถ่ายทอดไปยังพื้นที่นั้นๆได้ นอกจากนี้ในอนาคตไม่อาจคาดเดาได้ว่าโควิด-19 จะเกิดการระบาดรอบที่ 2 หรือรอบที่ 3 อีกหรือไม่ ซึ่งอาจจะทำให้นักเรียนในประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนมาเรียนออนไลน์อีกครั้ง

ส่วนเรื่องที่สอง คือ เรื่องของอุปกรณ์การเรียน รัฐบาลควรอำนวยความสะดวกในการจัดซื้อแท็บเล็ตเพื่อแจกจ่ายไปยังโรงเรียนที่ห่างไกล หรือขาดแคลนอุปกรณ์สำหรับเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนได้มีไว้ใช้เรียนออนไลน์และหาความรู้เพิ่มเติม โดยใช้งบประมาณที่รัฐบาลมีอยู่ เนื่องจากปัจจุบันราคาของแท็บเล็ต 1 เครื่อง ไม่ได้ราคาสูงเหมือนแต่ก่อนแล้ว

“เดิมรัฐบาลเคยมีโครงการแจกแท็บเล็ตมาแล้วเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตอนนั้นที่โครงการไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากระบบอินเตอร์เน็ตยังไม่แพร่กระจายเกือบทุกจังหวัดเหมือนในปัจจุบัน แต่ในวันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปแล้วเทคโนโลยีมีการพัฒนาขึ้นมาก ดังนั้นถ้าหากรัฐบาลสามารถสร้างระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ได้ การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ก็จะไม่ใช่เรื่องยาก”

นอกจากนี้ เพื่อต่อยอดอุปกรณ์ที่รัฐบาลให้มา ชุมชนในพื้นที่อาจจะนำแท็บเล็ตที่ได้รับมาใช้พัฒนาอาชีพให้กับคนในชุมชนได้ผ่านการสอนออนไลน์ โดยจะต้องสอนคนในชุมชนใช้อุปกรณ์ให้เป็นก่อน หลังจากนั้นก็ใช้ช่องทางนี้ในการอบรมอาชีพ รวมถึงสนับสนุนการค้าขายผ่านระบบออนไลน์ด้วย ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้ให้คนในชุมชนอีกทางหนึ่ง

นอกเหนือจากใช้ให้ความรู้แก่นักเรียนอย่างเดียว ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจฐานรากด้วย โดยกระทรวงดีอีเอสควรร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน เป็นการเฉพาะกิจ เพื่อเข้ามาช่วยสนับสนุนการให้ความรู้อาชีพต่างๆกับประชาชนในพื้นที่ด้วย.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ