ห้ามใช้ 2 สารเคมีโดยเด็ดขาด ผู้ครอบครองต้องรีบส่งคืนฝ่าฝืนโทษหนัก

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ห้ามใช้ 2 สารเคมีโดยเด็ดขาด ผู้ครอบครองต้องรีบส่งคืนฝ่าฝืนโทษหนัก

Date Time: 2 มิ.ย. 2563 08:15 น.

Summary

  • “มนัญญา” ย้ำ 1 มิ.ย.63 ห้ามใช้ “คลอไพริฟอส-พาราควอต” เด็ดขาด เกษตรกรที่มีในครอบครองต้องส่งคืนร้านค้าใน 90 วัน ส่วนร้านค้าต้องส่งคืนผู้ผลิต

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

“มนัญญา” ย้ำ 1 มิ.ย.63 ห้ามใช้ “คลอร์ไพริฟอส-พาราควอต” เด็ดขาด เกษตรกรที่มีในครอบครองต้องส่งคืนร้านค้าใน 90 วัน ส่วนร้านค้าต้องส่งคืนผู้ผลิต ผู้นำเข้าภายใน 120 วัน ขณะที่ผู้ผลิต ผู้นำเข้าต้องแจ้งปริมาณครอบครองภายใน 270 วัน ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการมอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติในการห้ามใช้ (แบน) สารเคมีการเกษตร ให้กับหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร ว่า ตามนโยบายการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศให้คลอไพริฟอส และพาราควอต เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ซึ่งห้ามการผลิต การนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน หรือการมีไว้ในครอบครอง โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.63 จึงขอให้เกษตรกร ผู้ค้า ผู้จัดจำหน่าย ส่งคืนสารดังกล่าวให้กับร้านค้าที่ซื้อมาภายใน 90 วัน ส่วนไกลโฟเซต กำหนดให้จำกัดการใช้ ซึ่งกรมวิชาการเกษตร เป็นผู้ดูแลและรวบรวมดำเนินการต่อไป

ด้าน น.ส.อิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวว่า เมื่อประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2563 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ได้ประกาศให้พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (วอ.4) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.63 นั้น จะทำให้ใบทะเบียน ใบอนุญาตผลิต และใบอนุญาตครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 สิ้นสุดลงทันที

ดังนั้น ผู้ที่มีพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสไว้ในครอบครองก่อนวันที่ 1 มิ.ย.63 ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของกรมวิชาการเกษตร ดังนี้ 1.เกษตรกรต้องส่งคืนสารเคมีทั้ง 2 ชนิดให้ร้านค้าที่ซื้อมาภายใน 90 วัน หรือไม่เกินวันที่ 29 ส.ค.นี้ 2.ร้านค้าจัดจำหน่าย ต้องส่งคืนผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า และแจ้งปริมาณต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ภายใน 120 วัน หรือไม่เกินวันที่ 28 ก.ย.นี้ 3.ผู้ผลิตและผู้นำเข้าต้องแจ้งปริมาณต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร เพื่อรวบรวมแจ้งปริมาณวัตถุอันตรายตามแบบ วอ./วก.5 ภายใน 270 วัน หรือไม่เกิน วันที่ 25 ก.พ.64 จากนั้นจะมีการกำหนดวัน วิธี และสถานที่ในการทำลาย โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการทำลาย

นอกจากนี้ ยังได้กำหนดแนวทางดำเนินการ เกี่ยวกับการจัดการ 2 สารเคมีดังกล่าวของผู้ครอบครองตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม โดยให้ปฏิบัติตามประกาศอย่างเคร่งครัด ผู้ฝ่าฝืน จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมทั้งได้สร้างการรับรู้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เกษตรกรผู้ใช้ ผู้รับจ้างพ่น ผู้ขาย ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผ่านช่องทางการรับรู้ต่างๆ ทั้งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ เว็บไซต์ สารวัตรเกษตรอาสา เป็นตัน

ขณะเดียวกัน ได้มอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติสำหรับสารเคมีเกษตรที่เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 และวัตถุอันตรายที่จำกัดการใช้แก่สารวัตรเกษตรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเครือข่ายของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 (สวพ.5) ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบในภาคกลาง และภาคตะวันตก 19 จังหวัดด้วย ทั้งนี้ จากการสำรวจร้านจำหน่ายสารเคมีใน 19 จังหวัด 3,158 ร้าน จากทั่วประเทศ 16,005 ร้าน พบว่ามีพาราควอต ประมาณ 700 ตัน จากทั่วประเทศ ประมาณ 8,562 ตัน, คลอไพริฟอส ประมาณ 103 ตัน จากทั่วประเทศประมาณ 697 ตัน และไกลโฟเชต ประมาณ 528 ตัน จากทั่วประเทศ ประมาณ 9,019 ตัน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ