หนี้เรื้อรัง โควิดถล่มซ้ำ จมกองเลือด ทางออกหลายสายการบินในโลก ยื่นล้มละลาย

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

หนี้เรื้อรัง โควิดถล่มซ้ำ จมกองเลือด ทางออกหลายสายการบินในโลก ยื่นล้มละลาย

Date Time: 13 พ.ค. 2563 20:06 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • เป็นช่วงเวลายากลำบากของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก ต้องกระอักซมพิษโควิดเผชิญวิกฤติครั้งใหญ่ จากรายได้ลดฮวบและไม่มีเข้ามา ทำให้หลายสายการบินจำนวนกว่าครึ่งในโลก สุ่มเสี่ยงกับภาวะล้มละลาย

Latest


เป็นช่วงเวลายากลำบากของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก ต้องกระอักซมพิษโควิดเผชิญวิกฤติครั้งใหญ่ จากรายได้ลดฮวบและไม่มีเข้ามา ทำให้หลายสายการบินจำนวนกว่าครึ่งในโลก สุ่มเสี่ยงกับภาวะล้มละลายในไม่กี่เดือนข้างหน้า และรัฐบาลในหลายประเทศมีความจำเป็นต้องหามาตรการเข้ามาช่วยเหลือให้รอดพ้นจากหายนะนี้

  • หลายสายการบินต้องหาแนวทางเพื่อความอยู่รอด เนื่องจากที่ผ่านมาการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่สามารถลดผลกระทบได้ เห็นได้จากที่ผ่านมาสายการบินหลายแห่งในสหรัฐฯ ยื่นเรื่องถึงรัฐบาล ขอเงินสนับสนุนมูลค่ากว่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงสายการบินในยุโรป ยื่นหนังสือถึงสหภาพยุโรปให้เข้ามาช่วยเหลือโดยด่วน

  • รวมถึง “การบินไทย” สายการบินแห่งชาติของไทย รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม ถือหุ้นโดยกระทรวงการคลัง 51% กำลังประสบปัญหาขาลงอย่างหนักจากภาวะหนี้สูงเรื้อรังมานาน และยิ่งมาเจอวิกฤติโควิดยิ่งสาหัสมากขึ้น เป็นโจทย์ใหญ่ต้องเร่งผ่าตัด ต้องติดตามว่ารัฐบาล “บิ๊กตู่” จะหาทางออกอย่างไร ระหว่างการค้ำประกันเงินกู้ 5 หมื่นล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่อง หรือปล่อยให้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อขอฟื้นฟูกิจการ

  • กรณีวิกฤติการบินไทย ล่าสุด นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ออกมาระบุแผนฟื้นฟูของการบินไทยในแต่ละข้อไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียด และไม่น่าเชื่อว่าจะดำเนินการได้จริง ซึ่งการบินไทยมีผู้ถือหุ้นเป็นเอกชนทั้งไทยและต่างชาติสัดส่วน 31% การที่รัฐจะค้ำประกันเงินกู้ เท่ากับรัฐโดยกระทรวงการคลังต้องค้ำประกันให้เอกชนที่เป็นใครก็ไม่รู้ ส่อเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ



  • ที่ผ่านมาสายการบินหลายแห่งในโลกได้ปิดกิจการและล้มละลายไปในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด แต่ส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านการเงินมาก่อนหน้าแล้ว อย่างกรณีสายการบิน “ฟลายบี” ในอังกฤษประกาศล้มละลาย เมื่อวันที่ 5 มี.ค. ที่ผ่านมา และสายการบินในเครือ “ทรานส์ สเตทส์ แอร์ไลน์” ในสหรัฐฯ ยุติกิจการเมื่อเดือน เม.ย.

  • เมื่อเร็วๆ นี้ สายการบิน “เวอร์จิน แอร์ไลน์” สายการบินพาณิชย์ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของออสเตรเลีย และใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้ยื่นขอล้มละลายเป็นรายแรก เมื่อวันที่ 21 เม.ย. ภายหลังรัฐบาลออสเตรเลียปฏิเสธให้การช่วยเหลือ จากปัญหาหนี้สิน 1 แสนกว่าล้านบาท และมาเจอวิกฤติโควิดซ้ำเติม

  • ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 พ.ค. สายการบิน "เอเวียนกา" สายการบินแห่งชาติของโคลอมเบีย และสายการบินรายใหญ่อันดับ 2 ในละตินอเมริกา ซึ่งก่อตั้งมานาน 100 ปี มีหนี้สินมากกว่า 230,000 ล้านบาท ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล และทางออกที่ดีที่สุดคือการยื่นล้มละลายต่อศาลในนิวยอร์ก เพราะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด



  • ย้อนไปในปี 2554 สายการบินยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ อย่าง “อเมริกัน แอร์ไลน์” เคยยื่นล้มละลายมาแล้วเช่นกัน เพื่อปูทางไปสู่การปรับโครงสร้างใหม่ หลังขาดทุนมากว่า 10 ปี และมาเจอวิกฤติช่วงเหตุการณ์ 9/11 โศกนาฏกรรมตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์มาซ้ำเติม หรือก่อนหน้านั้นสายการบิน “ยูไนเต็ด แอร์ไลน์” และ “เดลต้า แอร์ไลน์” ได้เคยยื่นล้มละลายเพื่อลดต้นทุน และยังสามารถดำเนินธุรกิจได้ปกติ

  • หรือกรณี “เจแปน แอร์ไลน์” สายการบินแห่งชาติของญี่ปุ่น สายการบินรายใหญ่สุดในเอเชีย เคยประสบปัญหาหนี้สินสะสม 7 แสนล้านบาท ต้องยื่นล้มละลายต่อศาลกรุงโตเกียวในปี 2553 ก่อนเข้าสู่โครงการฟื้นฟูกิจการ โดย ดร.คาสึโอะ อินาโมริ ผู้ก่อตั้งเคียวเซระ และบริษัทโทรคมนาคม KDDI เข้ามาบริหารจัดการ จนสถานการณ์พลิกฟื้นขึ้นมาได้ภายในเวลา 2 ปีเศษ และกลับมาผงาดอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน แต่ก็ต้องเจอพิษโควิด อาการไม่ต่างจากสายการบินอื่นๆ จนไม่สามารถพลิกฟื้นรายได้ที่ปรับตัวลงได้.

Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ