“สุริยะ” ชูยุทธศาสตร์อาหารยุคใหม่

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

“สุริยะ” ชูยุทธศาสตร์อาหารยุคใหม่

Date Time: 5 พ.ค. 2563 08:40 น.

Summary

  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (ปี 2562-2570) เพื่อเป้าหมายการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี)

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (ปี 2562-2570) เพื่อเป้าหมายการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) อุตสาหกรรมอาหารของไทย ให้เป็น 1.42 ล้านล้านบาท ก่อให้เกิดรายได้ในธุรกิจเกี่ยวเนื่องเพิ่มขึ้น 4.5 ล้านล้านบาท ครอบคลุมผู้ประกอบการในธุรกิจเกี่ยวเนื่อง 7.6 ล้านราย ก่อให้เกิดการลงทุนใหม่ในอุตสาหกรรมอาหารในประเทศ 480,000 ล้านบาท ทำให้ไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของอาเซียน และเป็น 1 ใน 10 ของประเทศผู้ส่งออกอาหารของโลกในปี 2570

“สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการดังกล่าวมีอาทิ การสร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ (Food Warriors) โดยกระทรวงจะร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และภาคเอกชนตั้งแต่ต้นน้ำ ในการยกระดับเกษตรกรให้ปลูกพืชเชิงอุตสาหกรรม นำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตให้ตรงความต้องการของตลาด โดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ และเชิญเครือข่ายบริษัทอาหารชั้นนำ (Global Player) มาเป็นพี่เลี้ยง (Big Brother) ให้ผู้ประกอบการ และเอสเอ็มอีเพื่อบ่มเพาะแนวคิดธุรกิจ และเทคโนโลยี เพื่อผลักดันผู้ประกอบการอาหารรุ่นใหม่ไปสู่เวทีโลก ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการผลิตอาหารอนาคต (Future Food) เช่น อาหารสุขภาพ (Healthy Food) ผลิตภัณฑ์อาหารจากเทคโนโลยีชีวภาพ (FoodBiotechnology Products) และอาหารใหม่ (Novel Food)”

ขณะเดียวกัน ครม.ยังได้มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. ... โดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี ที่เรียกเก็บตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โรงงานปี 2535 ให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และจำพวกที่ 3 ทุกขนาด เป็นเวลา 1 ปี ที่จะมีผลบังคับในเดือน มิ.ย.นี้ และมีโรงงานที่ได้รับสิทธิประโยชน์ 56,598 ราย เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการโรงงาน จากไวรัสโควิด-19

“โรงงานที่ยังไม่จ่ายค่าธรรมเนียมในปีนี้ ก็ไม่ต้องจ่าย หากโรงงานใดที่จ่ายค่าธรรมเนียมไปแล้ว กรมโรงงานอุตสาหกรรมก็จะยกเว้นโดยไม่ต้องจ่ายในปี 2564 แทน โดยค่าธรรมเนียมประกอบกิจการรายปีที่โรงงานจำพวก 2 และ 3 คือ โรงงานที่มีเครื่องจักรกำลังรวมตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป จะมีการจ่ายที่อัตราแตกต่างกัน เช่น โรงงานที่มีเครื่องจักรตั้งแต่ 50 แรงม้า แต่ไม่ถึง 100 แรงม้า จ่ายที่ 900 บาท, แรงม้าตั้งแต่ 100 แต่ไม่ถึง 200 แรงม้า จ่าย 1,500 บาท เป็นต้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ