ดัชนีเชื่อมั่นธุรกิจปักหัวลงติดดิน ธปท.ขู่ฟอดๆ ห้ามออนไลน์ล่ม เหตุคนแห่ทำธุรกรรมหนีไวรัส

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ดัชนีเชื่อมั่นธุรกิจปักหัวลงติดดิน ธปท.ขู่ฟอดๆ ห้ามออนไลน์ล่ม เหตุคนแห่ทำธุรกรรมหนีไวรัส

Date Time: 2 เม.ย. 2563 08:12 น.

Summary

  • สัปดาห์ที่ผ่านมาระบบการชำระเงินออนไลน์ของสถาบันการเงินบางแห่งมีปัญหาขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้เป็นเวลานาน ธปท. ได้เร่งติดตามการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาระบบการชำระเงินออนไลน์ของสถาบันการเงินบางแห่งมีปัญหาขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้เป็นเวลานาน ธปท. ได้เร่งติดตามการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด เพราะในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พบว่า มีปริมาณการทำธุรกรรมออนไลน์ของประชาชน และภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นจำนวนมาก จึงได้กำชับสถาบันการเงินให้เร่งแก้ไข เมื่อเกิดปัญหาให้ระบบกลับมาใช้งานได้ โดยให้ธนาคารที่เกิดปัญหาตรวจสอบ และจัดการธุรกรรมให้ลูกค้าให้ถูกต้อง และแล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าไตรมาสที่ 4 ปี 2562 เกิดการขัดข้องของกรณีดังกล่าวรวม 6 ธนาคาร อาทิ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) พบว่า Mobile Banking หรือการให้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านแอปพลิเคชันมือถือ ขัดข้อง 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 ชั่วโมง (ชม.) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) Mobile Banking ขัดข้อง 2 ครั้งเป็นเวลา 2 ชม. Internet Banking หรือการให้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ผ่านเว็บไซต์ของธนาคาร ขัดข้อง 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 ชม. เป็นต้น

ล่าสุด ธปท.ได้เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา พบว่าลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ 44.1 มาอยู่ที่ 42.6 เป็นการลดลงของกลุ่มขนส่งที่มีความเชื่อมั่นด้านคำสั่งซื้อ และผลประกอบการที่ลดลงมาก ส่งผลให้ความเชื่อมั่นด้านการลงทุน การจ้างงานลดลงด้วย ขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์มีความเชื่อมั่นลดลงตามการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่ชะลอลง และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ความเชื่อมั่นกลุ่มโรงแรม และบริการด้านอาหารมีความเชื่อมั่นลดลงต่อเนื่อง

สำหรับดัชนีของภาคการผลิตค่อนข้างทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 สะท้อนความเชื่อมั่นที่แย่ลง เพราะแม้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ของผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเริ่มคลี่คลาย ทำให้ความเชื่อมั่นด้านการผลิตกลับมาปรับเพิ่มขึ้น แต่กลุ่มผู้ผลิตยานยนต์มีความเชื่อมั่นด้านคำสั่งซื้อและการผลิตลดลงมาก และภาคเอกชนมีความกังวลต่อความสามารถในการซื้อสินค้าราคาสูงของผู้บริโภค รวมทั้งกลุ่มผลิตอาหารที่มีความเชื่อมั่นลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะสะท้อนความไม่เชื่อมั่นของภาคธุรกิจอย่างเห็นได้ชัด โดยคาดว่าดัชนีจะลดลงจากเดือนก่อนสู่ระดับ 43.6 เป็นการลดลงต่ำกว่าระดับ 50 หรือระดับความเชื่อมั่นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี 8 เดือน นับตั้งแต่ ก.ค.2558 และเป็นการลดลงในทุกภาคธุรกิจจากโควิด-19.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ