แรงงาน ลูกจ้างถูกโควิดพ่นพิษ ฟังทางนี้ รัฐเยียวยาจ่ายคนละ 5 พัน 3 เดือน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

แรงงาน ลูกจ้างถูกโควิดพ่นพิษ ฟังทางนี้ รัฐเยียวยาจ่ายคนละ 5 พัน 3 เดือน

Date Time: 24 มี.ค. 2563 14:55 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • มาตรการช่วยเหลือประชาชนมาแล้ว แรงงาน ลูกจ้าง มีประกันสังคม หรือไม่มีประกันสังคม รัฐเยียวยาจ่ายคนละ 5 พันบาทเป็น เวลา 3 เดือน พร้อมให้ยืมเงินฉุกเฉินอีก 1 หมื่น

Latest


มาตรการช่วยเหลือประชาชนมาแล้ว แรงงาน ลูกจ้าง มีประกันสังคม หรือไม่มีประกันสังคม รัฐเยียวยาจ่ายคนละ 5 พันบาทเป็น เวลา 3 เดือน พร้อมให้ยืมเงินฉุกเฉินอีก 1 หมื่น

เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 63 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยปลัดกระทรวงการคลัง ผอ.สศค. และอธิบดีกรมสรรพากร แถลงมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 แรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม

นายสมคิด กล่าวว่า เราจะยังมีมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนอยู่เรื่อยๆ นอกจากจะช่วยเหลือประชาชนแล้ว เราก็ต้องพยุงในส่วนของผู้ประกอบการด้วยเพื่อให้เขาดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เพื่อให้เกิดการจ้างงานต่อไป 

"เราไม่ได้ต้องการให้เกิดการยึดสินทรัพย์ต่างๆ ของพี่น้อง ประชาชน จึงได้ประสานไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อประสานไปยังธนาคารให้ช่วยออกมาตรการต่างๆ ช่วยเหลือประชาชน ส่วนหลายคนกังวลว่าจะติดปัญหาเรื่องประวัติการผ่อนชำระ หรือเครดิตต่างๆ ประเด็นนี้ก็ให้ทางแบงก์ชาติเข้ามาช่วยดูแลแล้ว เพื่อเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ต่อไป"

เพิ่มสภาพคล่อง

1. สนับสนุนเงินคนละ 5,000 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 3 เดือน

- ให้เงินเยียวยาแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราวอาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม จากการปิดที่เสี่ยงตามการระบาดชั่วคราว จำนวน 3 ล้านคน

- สำหรับผู้อยู่ในระบบประกันสังคม เพิ่มสิทธิกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้าง โดย 1. กรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงินไม่เกิน 180 วัน และ 2. กรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน

2. สินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาท ต่อราย
- วงเงิน 40,000 ล้านบาท
- อัตราดอกเบี้ย 0.01%
- ไม่ต้องมีหลักประกัน

3. สินเชื่อพิเศษ 50,000 บาทต่อราย
- วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท
- อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน
- ต้องมีหลักประกัน

4. สำนักงานธนานุเคราะห์ รับจำนำดอกเบี้ยต่ำ
- วงเงิน 2,000 ล้านบาท
- คิดดอกเบี้ยจากประชาชนในอัตราไม่เกิน 0.125% ต่อเดือน

ลดภาระ

5. ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- เลื่อนกำหนดเวลายื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกไปเป็นสิงหาคม 2563

6. หักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น
- เพิ่มวงเงินลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพจาก 15,000 บาทเป็น 25,000 บาท

7. ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคลากรทางการแพทย์

เพิ่มทักษะ

8. ฝึกอบรมมีเงินใช้ - ฝึกอบรม เพิ่มทักษะอาชีพ หรือจัดกิจกรรมเพื่อสังคม - ขยายฝึกอบรมผ่านภาคีเครือข่าย เช่น มูลนิธิโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ