สำนักสลากตั้ง ธ.ก.ส. รับขึ้นเงินรางวัล

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

สำนักสลากตั้ง ธ.ก.ส. รับขึ้นเงินรางวัล

Date Time: 31 ม.ค. 2563 07:40 น.

Summary

  • นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยภายหลังลงนาม “สัญญาให้บริการจ่ายเงินรางวัล” กับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

จับมิจฉาชีพปลอมคิวอาร์โค้ดรางวัลที่ 1

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยภายหลังลงนาม “สัญญาให้บริการจ่ายเงินรางวัล” กับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ว่า

ขณะนี้ ธ.ก.ส.ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนรับขึ้นเงินรางวัลเป็นแห่งแรกของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.63 โดยผู้ถูกรางวัลสลากสามารถมาขึ้นเงินรางวัลทุกรางวัล ยกเว้นรางวัลที่ 1 ทั้งนี้ ผู้มาขึ้นรางวัลที่ ธ.ก.ส.จะเสียค่าธรรมเนียมเพียง 1% ของมูลค่ารางวัล และเสียค่าอากรแสตมป์ หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามที่กฎหมายกำหนด ในอัตรา 0.5-1% ของมูลค่าเงินรางวัลตามประเภทสลาก ทั้งนี้ ธ.ก.ส.จะจ่ายเงินรางวัลเฉพาะงวดปัจจุบันที่ออกรางวัลเพียงงวดเดียว อาทิ งวดวันที่ 1 มี.ค. เริ่มจ่ายเงินรางวัลในเวลา 18.00 น. เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 16 มี.ค.เวลา 12.00 น. เป็นต้น โดยไม่มีการขึ้นเงินสลากให้ย้อนหลัง โดย ธ.ก.ส.จะเปิดรับขึ้นเงินรางวัลผ่านสาขาทั่วประเทศ 1,272 แห่ง ในจำนวนนี้มีสาขาในห้างที่รับขึ้นรางวัล 10 แห่ง

พ.ต.อ.บุญส่ง จันทรีศรี ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวว่า นอกจากช่วยให้ได้รับความสะดวกในการขึ้นรางวัล และลดรายจ่ายค่าขึ้นรางวัลจากพ่อค้ารับซื้อรางวัลแล้ว ยังลดปัญหาการนำสลากปลอมมาขึ้นรางวัลด้วย เนื่องจากสาขา ธ.ก.ส.มีการตรวจสอบสลากด้วยระบบเดียวกับสำนักงานสลากและเจ้าหน้าที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว ทั้งนี้ แต่ละงวดมีสลากถูกรางวัลราว 1.4 ล้านใบ คิดเป็นเงินรางวัลรวมกว่า 4,200 ล้านบาท คาดว่าจะมีผู้ขึ้นเงินรางวัลกับ ธ.ก.ส.มาก เพราะคิดค่าธรรมเนียมถูกกว่าร้านรับขึ้นเงินรางวัลที่คิด 2-3%

พ.ต.อ.บุญส่ง ยังกล่าวว่า นอกจากนี้ ฝากเตือนไปยังประชาชนผู้ถูกรางวัลว่า ไม่ควรโชว์สลากให้ผู้อื่นรับทราบ หากจะไปแจ้งความ สามารถทำได้ แต่ขอให้เก็บสลากไว้เป็นความลับ เนื่องจากสำนักงานสลากฯตรวจสอบพบว่ามีการปลอมสลากที่นำมาโชว์ถูกรางวัลและนำมาขึ้นเงินกับสำนักงานสลากฯ ด้วยการปลอมคิวอาร์โค้ดของผู้ถูกรางวัลที่ 1 ซึ่งผู้ที่ปลอมสลากได้ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายไปแล้ว โดยพบการปลอมสลากทั้งถ่ายเอกสาร การนำสลากที่ไม่ถูกรางวัลมาแก้ไขตัวเลขให้ถูกรางวัล ผู้กระทำหรือผู้นำสลากปลอมแปลงหรือแก้ไขตัวเลขสลาก มีความผิดอาญา ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ